พระคาถาชินบัญชร (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย
การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูและ ให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต
ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้
ชินบัญชร ปัจจุบันใช้เรียกพระคาถาภาษามคธชุดหนึ่ง นัยว่าเป็นนิพนธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เรียกว่า พระคาถาชินบัญชร ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถป้องกันสรรพอันตรายทั้งหลายได้เหมือนเกราะเพชรและให้โชคให้ลาภตามที่ปรารถนาได้
บทสวดพร้อมคำแปล
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงนึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
จากนั้นจึงเริ่มสวดพระคาถา
๑.ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
(พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรัสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์)
๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
(มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น)
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
(ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก)
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
(พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง)
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล
(พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย)
๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
(มุนีผู้ประเสริฐคือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง)
๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
(พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ)
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
(พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลีพระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก)
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
(ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่)
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
(พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ)
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
(พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ)
๑๒.ชินา นาวะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
(ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น)
๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
(ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ)
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา
(ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล)
๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
(ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ)
พระคาถาชินบัญชร ฉบับไทย
ข้าฯ ขอเชิญเสด็จ พระสรรเพชญ พุทธองค์
นราสภาทรง พิชิตมาร และเสนา
ยี่สิบแปดพระองค์ นายกสงฆ์ทรงสมญา
ตัณหังกรเป็นต้นมา ทรงดื่มแล้ว ซึ่งรสธรรม
จตุสัจอันประเสริฐ ทรงคุณเลิศ ดิลกล้ำ
ยอดบุญ พระคุณนำ ยิ่งเทพไท ไตรวิชชา
โปรดรับ ประทับทรง ณ ที่ตรง กระหม่อมข้า
ข้าฯพุทธเจ้าสา- ธุประฌม บังคมเชิญ
ขอให้พระพุทธะ สักกยะ พระจำเริญ
ประทับบนเศียรเทอญ ปราชญ์สรรเสริฐพระบารมี
ขอให้พระธรรมะ อริยะวิสุทธิ์ศรี
ประทับจักขุนทรีย์ ให้ข้ามีปัญญาญาณ
ขอให้พระสังฆะ วิสุทธะคุณาจารย์
สถิตประดิษฐาน อุระข้า อย่ารู้ไกล
ให้พระอนุรุทธิ์ บริสุทธิ์ อยู่หทัย
พระสารีบุตรไพ- โรจนัย ณ เบื้องขวา
เบื้องหลังพระโกณทัญ- ญะสถิต จิตตสา
เบื้องซ้ายพระโมคคัลลา- นะสถิต สถาพร
หูขวา พระอานนท์ ประชุมชน ประณมกร
พระราหุล อุดมพร สถิตร่วม จรัญญา
หูซ้ายพระกัสสป นิราศภพ กิตติมา
คู่กับพระมหา- นามสถิตย์ ประดิษฐาน
พระพุทธะโสภิต ผู้เรืองฤทธิ์ อุดมญาณ
จอมมุนี วีระหาญ ไตรวิชชา ประภากร
ดุจดวง พระอาทิตย์ แร่งร้อยฤทธิ์ พันแสงศร
สถิตเกศ อุดมกร ปัญฉิมภาค พิบูลพรรณ
พระกุมาระกัสสป ผู้เจนจบ วจีสัณห์
บ่อคุณคุณานันท์ สถิตโอษฐ์ อลังการ
ขอให้พระปุณณะ เถระพระอังคุลิมาล
พระอุบาลีศานต์ พระนันทะ พระสีวลี
บรรจบเป็นเบญจะ พระเถระ ผู้เรืองศรี
สถิตอยู่นลาตมี เสน่ห์ดี ไมตรีตาม
แปดสิบ พระสาวก มนต์สาธก ผู้เรืองนาม
เรืองเดช ทุกโมงยาม ด้วยลีลา ธิคุณคง
สถิตทั่วทุกส่วนกาย ทั้งน้อยใหญ่ประทับทรง
เป็นคุณจำเริญมง คลเลิศประเสริฐศรี
ขอเชิญพระปริตร อันศักดิ์สิทธิ์ในแดนตรี่
เมตตาและปรานี บริรักษ์ นิราศภัย
เบื้องหน้ารัตนสูตร ธรรมาวุธ อันเกรียงไกร
ทักษิณ อันฤๅชัย เมตตสูตร พระพุทธมนต์
ปัจฉิม ธชัคคสูตร พุทธาวุธ วิเศษล้น
บุดรมหามนต์ อังคุลิมา ละสูตรเสริม
ขันธโมพระปริตร ดังจักรกฤช ประสิทธิ์เฉลิม
อาฏานาฎสูตรเติม พระขรรค์เพ็ชรเผด็จมาร
เพดารกั้นมารอากาศ ให้ปลาส เกษมศาสตร์
อีกให้เป็นปราการ กำแพงแก้วกำขัตภัย
กำแพงแก้วเจ็ดชั้น ดำรงมั่น เดโชชัย
พระชินราช ประสาทให้ เป็นเกาะใหญ่ คุ้มครองตน
ด้วยเดช พระชินศรี เรืองฤทธิ์ มากเหลือล้น
กำจัดภัย ทุกแห่งหน ทั้งวิบัติ อุปัททวา
ทั้งภายนอกและภายใน เกิดเป็นภัย ไม่นำพา
เพียงลมร้าย พัดไปมา ไม่บีฑา อย่าอาวรณ์
เมื่อข้า สวดพระสูตร พระสัมพุทธบัญชร
สูงสุด พุทธพร ในพื้นเมธนีดล
กลางชินนะบัญชร คุณากร กิตติพล
หวังใดให้เป็นผล จากกุศลสาธยาย
ขอมวลมหาบุรุษ หน่อพระพุทธฤๅสาย
รักษา ข้าอย่าคลาย ตลอดกาล นิรันดร
อีกเวทมนตร์ ดลคาถา ที่มวลข้า ประฌมกร
เล่าเรียน เพียรว่าวอน อนุสรณ์ ตลอดมา
เป็นคุณ คุ้มครองดี อย่าให้มี ซึ่งโรคา
เป็นคุณ ช่วยรักษา สรรพภัย ไม่แผ้วพาน
อานุภาพ พระชินะ อุปัทวะ อย่ารู้หาญ
ห่างไกร ไม่ระราน ประสบงาน สวัสดี
อานุภาพ พระธรรมมะ ให้ชำนะ ความอัปรีย์
ห่างไกล คนใจผี กาลกิณี ไม่กล้ำกราย
อานุภาพ พระสังฆะ ให้ชำนะ อันตราย
ไม่เห็น คนใจร้าย ไม่มั่นหมาย มาราวี
อานุภาพ พระสัทธรรม ทุกเช้าค่ำ รักษาศรี
จำรัส จำเริญดี ร่มพระศรี ชินบัญชรฯ
พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขัน ตุ สัพ พะ ทา
ภาวนา 10 จบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2008-10-31
พระคาถาพาหุง หรือ ชัยมงคลคาถา (คำแปล)
พระคาถาพาหุง เรียกอีกอย่างว่า ชัยมงคลคาถา หรือ บทสวดถวายพระพร เป็นพระคาถาแปดบท ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมนุษย์ และอมนุษย์ ที่ได้มาด้วยพระพุทธธรรม มิได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์แต่อย่างใด โดยพระมักสวดต่อท้ายทำวัตรเช้า – เย็น เริ่มด้วย บทพาหุง ตามด้วยบทมหาการุณิโก รวมเรียกว่า พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา
1) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมาะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ
ครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร
โห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้
ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดช
แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
2) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก
ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง
ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง
เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
3) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน
ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำ
คือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)
4) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว
ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย) ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า
พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุณี
ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)
5) กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์)
เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการ
ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้า
ท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้
ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
6) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด
เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคน
มืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย
“แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่ง
ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
7) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มี
ความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี
พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป
ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช
แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน )
8) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(พรหมชื่อพกะ (ถือตัวว่า) มีความ
บริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์
ยึดมั่นในความเห็นผิด
ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา)
9) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
(คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล
คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน
พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง
พระนิพพานอันเป็นสุข)
ใครก็ตามที่สวดคาถาพาหุงเป็นประจำ จะพ้นจากภยันตรายทั้งปวง และบรรลุพระนิพพานได้ (ย่อมหมายถึงสวดแล้วดำเนินตามรอยยุคลบาทของพระศาสดา ในเรื่องการเอาชนะความชั่วร้ายทั้งปวงด้วย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมาะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ
ครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร
โห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้
ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดช
แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
2) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก
ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง
ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง
เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
3) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน
ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำ
คือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)
4) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว
ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย) ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า
พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุณี
ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)
5) กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์)
เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการ
ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้า
ท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้
ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
6) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด
เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคน
มืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย
“แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่ง
ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน )
7) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มี
ความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี
พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป
ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช
แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน )
8) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
(พรหมชื่อพกะ (ถือตัวว่า) มีความ
บริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์
ยึดมั่นในความเห็นผิด
ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา)
9) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
(คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล
คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน
พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง
พระนิพพานอันเป็นสุข)
ใครก็ตามที่สวดคาถาพาหุงเป็นประจำ จะพ้นจากภยันตรายทั้งปวง และบรรลุพระนิพพานได้ (ย่อมหมายถึงสวดแล้วดำเนินตามรอยยุคลบาทของพระศาสดา ในเรื่องการเอาชนะความชั่วร้ายทั้งปวงด้วย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทมหาการุณิโก (คำแปล)
บทมหาการุณิโก เป็นบทสวดที่นิยมสวด ต่อท้ายบท พาหุง รวมเรียกว่า พาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา ดังนี้
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
(สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมห ากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า)
ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก์ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ
(ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด)
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
(เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
(ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ )
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
(ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ )
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
(ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
(สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมห ากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า)
ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก์ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ
(ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด)
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
(เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
(ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ )
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
(ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ )
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
(ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2008-10-30
คำอาราธนาพระปริตร (คำแปล)
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
คำแปล : อาราธนาพระปริตร
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ
เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ
เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ
เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศ
โดยปกติคำอารธนาพระปริตร มักใช้ในงานมงคล เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
คำแปล : อาราธนาพระปริตร
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ
เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ
เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ
เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศ
โดยปกติคำอารธนาพระปริตร มักใช้ในงานมงคล เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
คำอาราธนาธรรม (คำแปล)
คำว่า “อาราธนาธรรม” หมายถึง การเชื้อเชิญพระสงฆ์ให้แสดงธรรม (เทศน์) หลังจากที่อาราธนาศีลและรับศีลจากพระสงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยปกติแล้ว พระสงฆ์จะแสดงธรรมอยู่บนธรรมาสน์ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นพิธีการหรือเป็นกิจลักษณะ ต่างจากการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายธรรมที่ไม่นิยมกล่าวคำอาราธนาธรรม การกล่าวคำอาราธนาธรรมเป็นหน้าที่ของทายกหรือเจ้าพิธีการผู้ทำหน้าที่ในงาน นั้น (เป็นหน้าที่ของฆราวาส ไม่ใช่หน้าที่ของพระ) โดยปกติ คำอาราธนาธรรมมักใช้ในงานอวมงคล เช่น งานศพ
" พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี
กัตอัญชะลี อันธิวรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชัก ขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ "
ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก
ได้ประนมพระหัตถ์นมัสการกราบทูลวิงวอน
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐว่า
สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลคือกิเลสในดวงตาเบาบางยังมีอยู่ในโลกนี้
ขอพระองค์จงแสดงพระธรรม
ทรงอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้เถิด ฯ
" พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี
กัตอัญชะลี อันธิวรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชัก ขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ "
ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก
ได้ประนมพระหัตถ์นมัสการกราบทูลวิงวอน
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐว่า
สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลคือกิเลสในดวงตาเบาบางยังมีอยู่ในโลกนี้
ขอพระองค์จงแสดงพระธรรม
ทรงอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้เถิด ฯ
คาถาบูชาดวง ประจำวันเกิด
คาถาบูชาดวง ประจำวันเกิด ทั้ง ๗ วัน
1. คาถาคนเกิดวันอาทิตย์ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ ชื่อคาถาพระนารายณ์แปลงรูปใช้ทางเมตตามหานิยมก็ได้ สวดวันละ 6 จบ ดูพระประจำวันอาทิตย์
2. คาถาคนเกิดวันจันทร์ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ชื่อคาถากระทู้เจ็ดแบกใช้ทางคงกระพัน สวดวันละ ๑๕ จบ
ดูพระประจำวันจันทร์
3. คาถาคนเกิดวันอังคาร ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ชื่อคาถาฝนแสงห่าใช้ทางเมตตามหานิยม สวดวันละ ๘ จบ
ดูพระประจำวันอังคาร
4. คาถาคนเกิดวันพุธกลางวัน ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ชื่อคาถาพระนารายณ์เคลื่อนสมุทร ดูพระประจำวันพุธ กลางวัน
5. คาถาคนเกิดวันพุธกลางคืน คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ ชื่อคาถาพระนารายณ์พลิกแผ่น ดินใช้แก้ความผิดต่างๆ สวดวันละ ๑๒ จบ ดูพระประจำวันพุธ กลางคืน
6. คาถาคนเกิดวันพฤหัส ภะ สัม สัม วิ สะ เท กะ ชื่อคาถาพระนารายณ์ตรึงไตรภพใช้ทาง เมตตามหานิยม สวดวันละ ๑๙ จบ ดูพระประจำวันพฤหัสบดี
7. คาถาคนเกิดวันศุกร์ วา โธ โน อะ มะ มะ วา ชื่อคาถาพระพุทธเจ้าตวาดหิมพานต์ใช้ ทางมหานิยม สวดวันละ ๑๙ จบ ดูพระประจำวันศุกร์
8. คาถาคนเกิดวันเสาร์ โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ชื่อคาถาพระนารายณ์ถอดจักรใช้ทางถอด คุณไสยศาสตร์ สวดวันละ 10 จบ ดูพระประจำวันเสาร์
1. คาถาคนเกิดวันอาทิตย์ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ ชื่อคาถาพระนารายณ์แปลงรูปใช้ทางเมตตามหานิยมก็ได้ สวดวันละ 6 จบ ดูพระประจำวันอาทิตย์
2. คาถาคนเกิดวันจันทร์ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ชื่อคาถากระทู้เจ็ดแบกใช้ทางคงกระพัน สวดวันละ ๑๕ จบ
ดูพระประจำวันจันทร์
3. คาถาคนเกิดวันอังคาร ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ชื่อคาถาฝนแสงห่าใช้ทางเมตตามหานิยม สวดวันละ ๘ จบ
ดูพระประจำวันอังคาร
4. คาถาคนเกิดวันพุธกลางวัน ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ชื่อคาถาพระนารายณ์เคลื่อนสมุทร ดูพระประจำวันพุธ กลางวัน
5. คาถาคนเกิดวันพุธกลางคืน คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ ชื่อคาถาพระนารายณ์พลิกแผ่น ดินใช้แก้ความผิดต่างๆ สวดวันละ ๑๒ จบ ดูพระประจำวันพุธ กลางคืน
6. คาถาคนเกิดวันพฤหัส ภะ สัม สัม วิ สะ เท กะ ชื่อคาถาพระนารายณ์ตรึงไตรภพใช้ทาง เมตตามหานิยม สวดวันละ ๑๙ จบ ดูพระประจำวันพฤหัสบดี
7. คาถาคนเกิดวันศุกร์ วา โธ โน อะ มะ มะ วา ชื่อคาถาพระพุทธเจ้าตวาดหิมพานต์ใช้ ทางมหานิยม สวดวันละ ๑๙ จบ ดูพระประจำวันศุกร์
8. คาถาคนเกิดวันเสาร์ โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ชื่อคาถาพระนารายณ์ถอดจักรใช้ทางถอด คุณไสยศาสตร์ สวดวันละ 10 จบ ดูพระประจำวันเสาร์
2008-10-26
จักรราศี Zodiac การดูดวงตามราศี

จักรราศี (Zodiac - มาจากภาษากรีก zoon หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถีการดูดวงตามราศี
ปัญหาที่พบบ่อยคือ คอลัมน์ดูดวงบางแห่งอยู่ราศีนี้ พอไปอีกคอลัมน์กลายเป็นอีกราศี คือเดิมในสมัยแรกๆ นั้น จุดเริ่มต้นราศีเมษอันเกิดจากจุดตัดระหว่างเส้นศูนย์สูตรฟ้ากับเส้นระวิมรรค (เส้นทางโคจรของดวงอาทิตย์ = Ecliptic)นั้นมันมีจุดสังเกตที่ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง และราศีที่แบ่งซอยเป็น 12 ราศีก็จะไปตรงกับกลุ่มดาว 12 กลุ่ม แล้วก็มีการตั้งชื่อกลุ่มดาวและราศี 12 ชื่อดังที่เราทราบกันดี แต่ต่อมามีการค้นพบกันว่า จุดตัดดังกล่าวเคลื่อนออกจากจุดเดิมในอัตราส่วนที่ปัจจุบันโหราศาสตร์ไทยใช้ คำว่า “อยนางศ” หรือ “อายนางศ์” มาจากศัพท์บัญญัติภาษาภารตะว่า “Ayanamsa” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Precession of Equinox” การเคลื่อนที่ดังกล่าวทำให้วงการโหราศาสตร์มีความเห็นแตกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่เห็นควรยึดการแบ่งราศีด้วยจุดตัดระหว่างเส้นศูนย์สูตรฟ้า กับเส้นระวิมรรค เรียกว่าจักราศีแบบสายนะ (Tropical Zodiac) โดยมากเป็นนักโหราศาสตร์ตะวันตก
กลุ่มที่เห็นควรยึดการแบ่งราศีตามกลุ่มดาวฤกษ์ดังเดิม เรียกว่าจักรราศีแบบนิรายนะ (Sidereal Zodiac) เป็นกลุ่มนักโหราศาสตร์ตะวันออก รวมถึงโหราศาสตร์ไทย
อย่างไรก็ตาม หากเราชอบคอลัมน์ดูดวงใดจะยึดตามนั้นก็ไม่ผิดนัก ในที่นี้จะขอยึดถือตาม จักราศีแบบสายนะ และนิรายนะ ดังนี้
1) ราศีเมษ ดวงประจำราศีเมษ
สัญลักษณ์ แกะ, ธาตุ ไฟ, ดาวประจำราศี ดาวอังคาร
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 21 มีนาคม - 19 เมษายน
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 14 เมษายน - 14 พฤษภาคม
2) ราศีพฤษภ ดวงประจำราศีพฤษภ
สัญลักษณ์ วัว,ธาตุ ดิน,ดาวประจำราศี ดาวศุกร์
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 20 เมษายน - 20 พฤษภาคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 15 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน
3) ราศีเมถุน ดวงประจำราศีเมถุน
สัญลักษณ์ คนคู่,ธาตุ ลม,ดาวประจำราศี ดาวพุธ
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 21 พฤษภาคม - 20 มิถุนายน
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 15 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม
4) ราศีกรกฏ ดวงประจำราศีกรกฏ
สัญลักษณ์ ปู ,ธาตุ น้ำ ,ดาวประจำราศี ดวงจันทร์
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 21 มิถุนายน - 22 กรกฎาคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 17 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม
5) ราศีสิงห์ ดวงประจำราศีสิงห์
สัญลักษณ์ สิงโต , ธาตุ ไฟ ,ดาวประจำราศี ดวงอาทิตย์
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 23 กรกฎาคม - 22 สิงหาคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 17 สิงหาคม - 16 กันยายน
6) ราศีกันย์ ดวงประจำราศีกันย์
สัญลักษณ์ หญิงสาว, ธาตุ ดิน,ดาวประจำราศี ดาวพุธ
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 23 สิงหาคม - 22 กันยายน
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 17 กันยายน - 17 ตุลาคม
7) ราศีตุลย์ ดวงประจำราศีตุลย์
สัญลักษณ์ คันชั่ง ,ธาตุ ลม ,ดาวประจำราศี ดาวศุกร์
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 23 กันยายน - 22 ตุลาคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 18 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน
8) ราศีพิจิก ดวงประจำราศีพิจิก
สัญลักษณ์ แมงป่อง, ธาตุ น้ำ ,ดาวประจำราศี ดาวอังคาร ดาวพลูโต
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 23 ตุลาคม - 21 พฤศจิกายน
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 17 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม
9) ราศีธนู ดวงประจำราศีธนู
สัญลักษณ์ คนยิงธนู ,ธาตุ ไฟ ,ดาวประจำราศี ดาวพฤหัสบดี
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 22 พฤศจิกายน - 21 ธันวาคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 16 ธันวาคม - 14 มกราคม
10) ราศีมังกร ดวงประจำราศีมังกร
สัญลักษณ์ แพะทะเล ,ธาตุ ดิน , ดาวประจำราศี ดาวเสาร์
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 22 ธันวาคม - 19 มกราคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 15 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์
11) ราศีกุมภ์ ดวงประจำราศีกุมภ์
สัญลักษณ์ คนแบกหม้อน้ำ ,ธาตุ ลม ,ดาวประจำราศี ดาวเสาร์ ดาวมฤตยู
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 20 มกราคม - 18 กุมภาพันธ์
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 13 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม
12) ราศีมีน ดวงประจำราศีมีน
สัญลักษณ์ ปลา , ธาตุ น้ำ ,ดาวประจำราศี ดาวพฤหัสบดี ดาวเนปจูน
วันที่ครอบคลุมราศีแบบสายนะ 19 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม
วันที่ครอบคลุมราศีแบบนิรายนะ 15 มีนาคม - 13 เมษายน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีเมษ Aries

ราศีเมษ (Aries จากภาษาลาติน แปลว่า แกะตัวผู้) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีแรก ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีมีนและราศีพฤษภ มีสัญลักษณ์เป็น แกะตัวผู้ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมษนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 19 เมษายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 14 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม
ข้อมูลทั่วไปของราศีเมษ
* สัญลักษณ์ : หัวของแกะตัวผู้
* อวัยวะ: ศีรษะ แสดงถึงความเป็นผู้นำของจักรราศีทั้งหมด เนื่องจากศีรษะเป็นอวัยวะที่อยู่บนสุดของร่างกายมนุษย์
* ธาตุ : ไฟ (เช่นเดียวกับ ราศีสิงห์ และ ราศีธนู) กลุ่มราศีธาตุไฟ จะแสดงถึงการกระทำ การมีเสน่ห์เร่าร้อนและพลังงาน เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุดินจะคลุมไฟ ธาตุน้ำจะดับไฟ แต่สำหรับการคู่กับธาตุลมแล้ว จะทำให้ไฟโหมกระหน่ำและมีชีวิตชีวาขึ้น ธาตุไฟ คุณสมบัติตามจรราศีของราศีเมษ เปรียบเสมือนเพลิงที่โหมกระหน่ำได้อย่างไม่หยุดยั้ง
* ดาวเคราะห์ : ดาวอังคาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรักการแข่งขันของชาวราศีเมษ เนื่องจากเทพแห่งดาวอังคารเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งของเทพแห่งสงคราม (เช่นเดียวกับ ราศีพฤศจิก ก่อนที่จะมีการค้นพบดาวพลูโต)
* คุณสมบัติ: จรราศี (เช่นเดียวกับ ราศีกรกฎ ราศีตุลย์ และ ราศีมังกร) กลุ่มจรราศีคือ กลุ่มของราศีที่เป็นราศีแรกของการเปลี่ยนฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวง อาทิตย์โดยเหตุผลนี้เอง ราศีในกลุ่มนี้จะมีความเป็นผู้ริเริ่มและผู้สร้างสรรค์สูง สำหรับราศีเมษ จะเป็นราศีแรกในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ ซึ่งทำให้ซีกโลกเหนือเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (สำหรับซีกโลกใต้จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง)
* เพศ: ชาย หรือ กลุ่ม บวก (เช่นเดียวกับ ราศีสิงห์ และ ราศีธนู ซึ่งอยู่ธาตุไฟด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุลมซึ่งประกอบด้วย ราศีเมถุน ราศีตุลย์ และ ราศีกุมภ์) กลุ่มราศีเพศชายหรือราศีกลุ่มบวก จะมีลักษณะนิสัยชอบเข้าสังคม รักเพื่อนฝูง ชอบทำงาน ไม่ชอบยึดติด มุ่งที่จะข้างหน้า แต่ในทางกลับกันกลับขาดความเห็นอกเห็นใจ และอารมณ์รุนแรง
* ลักษณะนิสัย: แบบส่วนตัว (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน และ ราศีกรกฎ)
ราศีเมษ เป็นราศีแรกตามตำราโหราศาสตร์ ดังนั้นผู้ที่ได้รับอิทธิพลตามราศีเกิดตามราศีนี้ จะมีความเป็นผู้นำสูง ชอบการที่จะเป็นผู้บุกเบิกหรือผู้สร้างสรรค์ มีความมั่นใจในตนเอง มีความกระตือรือร้น อารมณ์รุนแรง รักการแข่งขัน จึงทำให้ผู้ที่เกิดในราศีนี้มักจะทำให้อะไรได้สำเร็จ แต่ในทางกลับกัน ในการที่เป็นผู้นำโดยธรรมชาติ ทำให้บางครั้งทำให้ขาดความสามารถในการสร้างทีมที่ดี และคนที่เกิดราศีนี้อาจมีความเห็นแก่ตัวในบางครั้ง เนื่องจากยึดตัวเองเป็นหลักมากจนเกินไป
สำหรับเนื้อคู่ที่ถูกโฉลกกับชาวราศีเมษ ได้แก่ ราศีมังกร ราศีตุลย์ และราศีกรกฏ ส่วนราศีอื่นที่นอกเหนือจากสามราศี ที่กล่าวนี้แล้วก็สามารถคบได้แต่ต้องใช้เวลาในการ คบหากันพอสมควร
คนที่เกิดในราศีนี้เป็นคนธาตุไฟ ที่โมโหง่าย ขี้โมโห ไม่ค่อยมีความ อดทนอดกลั้น อะไรได้นาน ๆ แต่ก็มีข้อดีคือ จะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีความกล้าที่จะแสดงออก ชอบที่จะเดินทางเพื่อการผจญภัยในสิ่งที่ใหม่ ๆ จึงชอบที่จะหาเพื่อนที่พร้อมจะลุยไปกับ เขาได้ทุกที่ ทุกเวลา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีพฤษภ Taurus

ราศีพฤษภ (Taurus จากภาษาลาตินแปลว่า วัว) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 2 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีเมษและราศีเมถุน มีสัญลักษณ์เป็นวัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพฤษภนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 20 เมษายน ถึง 20 พฤษภาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม ถึง 14 มิถุนายน
ข้อมูลทั่วไปราศีพฤษภ
* สัญลักษณ์ : หัววัว
* อวัยวะ: คอ แสดงถึงความอดทนและการรักสิ่งสวยงามของชาวราศีพฤษภ เนื่องจากคอเป็นอวัยวะที่ต้องรองรับศีรษะ และเป็นจุดเชื่อมสู่ส่วนต่างๆที่สำคัญของร่างกาย รวมถึงช่องปากและคอสามารถรับรสความอร่อยและความอ่อนนุ่มของอาหารเวลารับ ประทานอาหารอีกด้วย
* ธาตุ : ดิน (เช่นเดียวกับ ราศีกันย์ และ ราศีมังกร) กลุ่มราศีธาตุดิน จะแสดงถึงความมั่นคง เปี่ยมด้วยความรู้สึก และยึดติดกับความเป็นจริง เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุลมจะทำให้ดินแห้งแล้ง ธาตุไฟจะเผาดิน แต่สำหรับการคู่กับธาตุน้ำแล้วจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับดิน
* ดาวเคราะห์ : ดาวศุกร์ ซึ่งได้ให้อิทธิพลแก่ชาวราศีพฤษภในการเป็นคนที่จริงจังในความสัมพันธ์เกี่ยว กับความรักและเป็นผู้ที่รักความสวยงามตามธรรมชาติ(เช่นเดียวกับ ราศีตุลย์) แต่บางตำราจะให้ โลกเป็นดาวเคราะห์ประจำราศีพฤษภแทน
* คุณสมบัติ: คงที่ (เช่นเดียวกับ ราศีสิงห์ ราศีพฤศจิก และ ราศีกุมภ์) กลุ่มราศีคงที่ที่คือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงปกติ ไม่ใช่ราศีแรกในการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ หรือช่วงจุดเปลี่ยนของฤดูกาล ราศีกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์ มีความเป็นเอกเทศสูง และ มีความมุ่งมั่น
* เพศ: หญิง หรือ กลุ่ม ลบ (เช่นเดียวกับ ราศีกันย์ และ ราศีมังกร ซึ่งอยู่ธาตุดินด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุน้ำซึ่งประกอบด้วย ราศีกรกฎ ราศีพฤศจิก และ ราศีมีน) กลุ่มราศีเพศหญิงหรือราศีกลุ่มลบ ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่อ่อนไหว สามารถยอมรับอะไรได้ง่าย มีความสุขุม การคบหาสมาคมไม่เน้นปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ มักเป็นผู้ที่ยึดติดกับอดีต ในทางกลับกันอาจกลายเป็นคนที่น่าเบื่อ ขี้ระแวงและช่างวิตกกังวล
* ลักษณะนิสัย: แบบส่วนตัว (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ ราศีเมถุน และ ราศีกรกฎ)
สัญลักษณ์ของชาวราศีพฤษภคือวัว ซึ่งเป็นสัตว์ที่รักความสงบ เช่นเดียวกับชาวราศีนี้ที่รักความสวยงาม รักธรรมชาติ ความสะดวกสบาย เสียงเพลง บางคนยังกล่าวอีกว่าชาวราศีพฤษภได้รับพรสวรรค์การปลูกต้นไม้มาด้วย อย่างไรก็ตามวัวเป็นสัตว์ที่อดทนสูง ชาวราศีพฤษภจึงเป็นผู้ที่เสียสละ มีความอดทน และมีความละเอียดรอบคอบ ชาวพฤษภมีความซื่อสัตย์และเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังนั้นอาจมี บางครั้งเขาหรือเธออาจแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของออกมาบ้าง นอกจากนั้นแล้ว เช่นเดียวกับชาวพฤษภ วัวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างดื้อจนรับมือยากได้ในบางครั้ง
ความรักของคนเกิดราศีพฤษภ โดยทั่วไปแล้วคนที่เกิดราศีนี้ จะชอบคนที่เข้มแข็ง กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ตรงไปตรงมา มีความเสียสละ และมักจะเป็นคนในเครื่องแบบ
คนเกิดราศีพฤษภจะเป็นคน ค่อนข้างจะโรแมนติก เป็นคนที่ ละเอียดอ่อน ดูอบอุ่น โดยทั่วไปคนในราศีนี้ จะเป็นคนที่นิ่งๆ ไม่ค่อยทำอะไร โลดโผนมากนัก แต่สิ่งที่เขาทำลงไปนั้น จะทำด้วยความรักความจริงใจ คนที่เกิดในราศีพฤษภจะชอบสิ่งที่ดีที่สุด หรูหรา มองแล้วดูดี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีเมถุน Gemini

ราศีเมถุน (Gemini จากภาษาลาติน แปลว่า ฝาแฝด) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 3 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีพฤษภและราศีกรกฎ มีสัญลักษณ์เป็นฝาแฝด ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมถุนนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 20 มิถุนายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 16 กรกฎาคม
ข้อมูลทั่วไปราศีเมถุน
* สัญลักษณ์ : คนคู่
* อวัยวะ: แขน รวมถึง ปอด เนื่องจากชาวเมถุนเป็นคน 2 บุคลิก แขนจึงเป็นอวัยวะตัวแทนของราศีนี้ เนื่องจากแขนทั้ง 2 ข้างสามารถทำงานแยกออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง
* ธาตุ : ลม (เช่นเดียวกับ ราศีตุลย์ และ ราศีกุมภ์) กลุ่มราศีธาตุลม จะแสดงถึงความคิด ทัศนคติ และการสื่อสาร เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุดินจะบดบังลม ธาตุน้ำจะขวางทางของลม แต่สำหรับการคู่กับธาตุไฟแล้วจะทำให้ลมยกตัวสูงขึ้น และลอยได้ดีขึ้น
* ดาวเคราะห์ : ดาวพุธ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสามารถในการสื่อสารของชาวเมถุน เนื่องจากเทพเจ้าประจำดาวพุธ รู้จักอีกในชื่อของเทพแห่งการส่งสาร(เช่นเดียวกับ ราศีกันย์)
* คุณสมบัติ: ผันแปร หรือ กลุ่ม 2 ลักษณะ (เช่นเดียวกับ ราศีกันย์ ราศีธนู และ ราศีมีน) กลุ่มราศีผันแปรคือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงที่ฤดูกาลกำลังเปลี่ยน ซึ่งทำให้ลักษณะนิสัยของกลุ่มชาวราศีนี้มีหลายบุคลิก สามารถปรับตัวได้เก่ง และแก้ปัญหาได้ค่อนข้างดี สำหรับราศีเมถุนอยู่ในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่จากช่วงฤดูหนาวไปยังฤดู ร้อน นอกจากนั้นสัญลักษณ์ของราศีเมถุนแสดงถึงความเป็น 2 ลักษณะโดยมีสัญลักษณ์เป็นฝาแฝดอย่างชัดเจน
* เพศ: ชาย หรือ กลุ่ม บวก (เช่นเดียวกับ ราศีตุลย์ และ ราศีกุมภ์ ซึ่งอยู่ธาตุลมด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุไฟซึ่งประกอบด้วย ราศีเมษ ราศีสิงห์ และ ราศีธนู) กลุ่มราศีเพศชายหรือราศีกลุ่มบวก จะมีลักษณะนิสัยชอบเข้าสังคม รักเพื่อนฝูง ชอบทำงาน ไม่ชอบยึดติด มุ่งที่จะข้างหน้า แต่ในทางกลับกันกลับขาดความเห็นอกเห็นใจ และอารมณ์รุนแรง
* ลักษณะนิสัย: แบบส่วนตัว (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ ราศีพฤษภ และ ราศีกรกฎ)
ชาวราศีเมถุนมีบุคลิก 2 แบบ เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ประจำราศีคือ ฝาแฝด แต่เนื่องจากการมีหลายบุคลิก ทำให้ชาวราศีเมถุนมีความสามารถเกี่ยวกับการสื่อ สารเป็นพิเศษ และออกสังคมเก่ง รวมถึงความสามารถในการใช้ความคิด นอกจากนั้นชาวราศีเมถุนยังมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆด้วย แต่เนื่องจากการมีคน 2 คนในร่างเดียวทำให้ในบางครั้งชาวราศีเมถุนตัดสินใจลำบาก กลายเป็นคนหลายจิตหลายใจ อารมณ์ไม่คงที่ คนรอบข้างจะไม่สามารถตามอารมณ์และบุคลิกของเขาหรือเธอได้ทัน
เนื่องจากคนที่เกิดราศีเมถุน จะเป็นคนที่ฉลาดปราดเปรียว ดังนั้นในเรื่องของความรักคนที่เกิดราศีนี้ มักจะชอบคบกับคนที่มีความตื่นตัว และว่องไว และคนที่จะคบกับชาวราศีนี้ จะต้องเป็นคนที่ทันคน มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี คิดได้ฉับไว และที่สำคัญต้องปล่อยให้เขามีความเป็นอิสระบ้าง เพราะว่าคนที่เกิดราศีเมถุน จะรักความเป็นอิสระ และถ้าคุณคือคนที่ใช่สำหรับเขาแล้ว เขาก็จะรักและให้ความซื่อสัตย์กับคุณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีกรกฎ Cancer

ราศีกรกฎ (Cancer จากภาษาลาติน แปลว่า ปู) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 4 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีเมถุนและราศีสิงห์ มีสัญลักษณ์เป็น ปู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกรกฎนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม ถึง 16 สิงหาคม
ข้อมูลทั่วไปราศีกรกฎ
* สัญลักษณ์ : ก้ามปู
* อวัยวะ: ท้องและหน้าอก(สำหรับเพศหญิง) บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของชาวราศีกรกฎที่มีความเป็นแม่สูงและชอบปกป้องคนรอบ ข้างคนตนเอง เพราะท้องเป็นอวัยวะที่ปกคลุมอวัยวะอื่นๆที่อยู่ภายในและหน้าอกถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ของเพศแม่ได้ดีที่สุด
* ธาตุ : น้ำ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤศจิก และ ราศีมีน) กลุ่มราศีธาตุน้ำ จะแสดงถึงแนวทางการปฏิบัติ ความมีตัวตนและอารมณ์ เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุไฟจะทำให้น้ำเดือด ธาตุลมจะทำให้น้ำระเหย แต่สำหรับการคู่กับธาตุดินแล้วจะช่วยกำหนดเส้นทางและกำหนดรูปร่างให้น้ำไหล ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ธาตุน้ำคุณสมบัติจรราศีของราศีกรกฎ เปรียบเสมือนสายน้ำที่ไหลเชี่ยวไปในทิศทางเดียว
* ดาวเคราะห์ : ดวงจันทร์ ดวงจันทร์ทำหน้าที่ในการทำให้น้ำบนโลกขึ้นและลง แสดงถึงอารมณ์ของชาวราศีกรกฎซึ่งไม่คงที่ รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวราศีนี้ไม่ว่าจะชายหรือหญิงแต่ก็จะมีลักษณะความ เป็นแม่ที่ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับเทพแห่งดวงจันทร์ตามตำนาน
* คุณสมบัติ: จรราศี (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ ราศีตุลย์และ ราศีมังกร) กลุ่มจรราศีคือ กลุ่มของราศีที่เป็นราศีแรกของการเปลี่ยนฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวง อาทิตย์โดยเหตุผลนี้เอง ราศีในกลุ่มนี้จะมีความเป็นผู้ริเริ่มและผู้สร้างสรรค์สูง สำหรับราศีมังกร จะเป็นราศีแรกในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ ซึ่งทำให้ซีกโลกเหนือเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน (สำหรับซีกโลกใต้จะเข้าสู่ฤดูหนาว)
* เพศ: หญิง หรือ กลุ่ม ลบ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤศจิก และ ราศีมีน ซึ่งอยู่ธาตุน้ำด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุดินซึ่งประกอบด้วย ราศีพฤษภ ราศีกันย์ และ ราศีมังกร) กลุ่มราศีเพศหญิงหรือราศีกลุ่มลบ ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่อ่อนไหว สามารถยอมรับอะไรได้ง่าย มีความสุขุม การคบหาสมาคมไม่เน้นปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ มักเป็นผู้ที่ยึดติดกับอดีต ในทางกลับกันอาจกลายเป็นคนที่น่าเบื่อ ขี้ระแวงและช่างวิตกกังวล
* ลักษณะนิสัย: แบบส่วนตัว (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ ราศีพฤษภ และ ราศีเมถุน)
ชาวราศีกรกฎมีความเป็นแม่สูงถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ชายก็ตาม คนราศีนี้ชอบปกป้องคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่อ่อนแอเหมือนแม่ที่คอยปกป้องลูก ชาวราศีกรกฎเป็นคนที่รักบ้านและครอบครัว รวมถึงการทำอาหาร เขาและเธอจะรู้สึกดีถ้าได้ดู และคนที่อยู่รอบข้างด้วยการเลี้ยงอาหารที่ทำเอง และที่ดีที่สุดถ้าอยู่ที่บ้าน นอกจากนั้นเขาและเธอยังมีความเห็นอกเห็นใจ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นคนที่อ่อนไหวง่าย แต่ก็เพราะด้วยเป็นคนที่อารมณ์อ่อนไหวนั่นเองทำให้บางครั้ง อารมณ์ของชาวราศีกรกฎปั่นป่วนง่าย เป็นคนที่เจ้าอารมณ์และขี้หงุดหงิดในบางครั้ง
จุดเด่นของคนเกิดราศีกรกฎ
* มีจิตใจที่งดงาม ไม่เบียดเบียนใคร
* รักความก้าวหน้า สนใจในสิ่งที่จะทำให้ชีวิตมีความมั่นคง และประสบความสำเร็จ
* รักเพื่อนฝูง รักครอบครัว อยู่ติดกับบ้าน
* มีความรับผิดชอบที่ดี มีความเป็นผู้นำ มีความจำเป็นเลิศ
* ขยันอดทน
* รับฟังเหตุผลจากคนอื่น
* หากมีปัญหาเข้ามารุมเร้า ก็จะฟันฝ่าไปให้จงใดด้วยตัวเอง ไม่หวังพึ่งใคร
จุดด้อยของคนเกิดราศีกรกฎ
* มีความอ่อนไหวง่าย จึงเป็นคนที่มีอารมณ์ร้อน ทำให้เจ็บปวดง่าย
* เข้มงวดกับตัวเองมากเกินไป จนทำให้บางครั้งเป็นคนไร้เหตุผล
* มีความวิตกกังวลเกินไป
* ชอบมองโลกในแง่ร้าย
คนราศีกรกฎ จะเป็นคนที่รักบ้าน เนื่องจากเขาคิดว่า การทีได้อยู่บ้าน อยู่กับครอบครัว เป็นสิ่งที่ทำ ให้เขารู้สึกถึงความปลอดภัย อารมณ์ของชาวราศีกรกฎ จะมีอารมณ์ที่ ค่อนข้างจะแปรปรวน โกรธง่ายหายเร็ว เอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่ค่อย มั่นใจในตัวเอง ซึ่งมีลักษณะ เป็นผู้ตามที่ดี เพราะจะคนราศีนี้จะ ไม่ค่อยเรื่องมาก ปรับตัวเข้ากับ สถานการณ์ได้อย่างลงตัว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2008-10-25
ราศีสิงห์ Leo

ราศีสิงห์ (Leo จากภาษาลาติน แปลว่า สิงโต) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 5 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีกรกฎและราศีกันย์ มีสัญลักษณ์เป็น สิงโต ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีสิงห์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 22 สิงหาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึง 16 กันยายน
ข้อมูลทั่วไปราศีสิงห์
* สัญลักษณ์ : แผงคอของสิงโต หรือ หางของสิงโต
* อวัยวะ: หัวใจ แสดงถึงการเป็นจุดศูนย์กลางของจักรราศีทั้งหมด เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย
* ธาตุ : ไฟ (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ และ ราศีธนู)กลุ่มราศีธาตุไฟ จะแสดงถึงการกระทำ การมีเสน่ห์เร้าร้อน และพลังงาน เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุดินจะคลุมไฟ ธาตุน้ำจะดับไฟ แต่สำหรับการคู่กับธาตุลมแล้วจะทำให้ไฟโหมกระหน่ำและมีชีวิตชีวาขึ้น
* ดาวเคราะห์ : ดวงอาทิตย์ ในบรรดาดวงดาวต่างๆ ดวงอาทิตย์มีความสำคัญมากที่สุด เป็นจุดศูนย์กลางของดวงดาวทั้งหมด บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยเปรียบดั่งราชาของชาวราศีสิงห์
* คุณสมบัติ: คงที่ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ ราศีพฤศจิก และ ราศีกุมภ์)กลุ่มราศีคงที่ที่คือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงปกติ ไม่ใช่ราศีแรกในการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ หรือช่วงจุดเปลี่ยนของฤดูกาล ราศีกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์ มีความเป็นเอกเทศสูง และ มีความมุ่งมั่น
* เพศ: ชาย หรือ กลุ่ม บวก (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ และ ราศีธนู ซึ่งอยู่ธาตุไฟด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุลมซึ่งประกอบด้วย ราศีเมถุน ราศีตุลย์ และ ราศีกุมภ์) กลุ่มราศีเพศชายหรือราศีกลุ่มบวก จะมีลักษณะนิสัยชอบเข้าสังคม รักเพื่อนฝูง ชอบทำงาน ไม่ชอบยึดติด มุ่งที่จะข้างหน้า แต่ในทางกลับกันกลับขาดความเห็นอกเห็นใจ และอารมณ์รุนแรง
* ลักษณะนิสัย: แบบสังคม (เช่นเดียวกับ ราศีกันย์ ราศีตุลย์ และ ราศีพฤศจิก)
จากสัญลักษณ์ประจำของชาวราศีสิงห์แล้ว ทั้งหมดล้วนแสดงถึงจุดศูนย์กลางทั้งสิ้น ชาวราศีสิงห์จึงชอบการเป็นจุดสนใจ มีคนแวดล้อมและให้เขาหรือเธอเป็นผู้นำ ซึ่งสอดคล้องกับการที่ชาวราศีสิงห์ มีความภูมิใจในตนเองและรักการแสดงออก ทางด้านต่างๆและพวกเขาสามารถทำได้ดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นราศีธาตุไฟซึ่งบ่งบอกถึงการมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือน ใคร อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้คนเข้ามาอยู่รอบๆชาวราศีสิงห์คือการที่ เขาหรือเธอมีจิตใจกว้างขวาง มีน้ำใจ แต่การที่ชอบเป็นจุดศูนย์กลางตลอดเวลา ทำให้ชาวราศีสิงห์ยึดตัวเองเป็นใหญ่มากจนเกินไป
ชาวราศีสิงห์เป็นคนที่มีความสร้างสรรค์และโรแมนติก เขาเป็นคนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ได้ดี กล้าแสดงออก ชอบความสนุกสนาน และชอบพบปะผู้คน เขามีความสามารถในการดึงดูดผู้คนให้หันมาสนใจในตัวเขาได้ เพราะเขามีความโดดเด่นและเป็นผู้นำ สำหรับเรื่องความรัก เขาก็เป็นคนรักที่ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าราศีอื่น เต็มไปด้วยความอบอุ่นและการเทคแคร์ดูแลเอาใจใส่ดีอย่างสม่ำเสมอ เพราะธรรมชาติของสิงห์คือ ผู้นำ ที่มีความรับผิดชอบ ดูแลทุกๆคนอย่างดีและเป็นที่รักของคนรอบข้าง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีกันย์ Virgo

ราศีกันย์ (Virgo จากภาษาลาติน แปลว่า หญิงพรหมจรรย์) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 6 ตามตำราของโหรศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีสิงห์และราศีตุลย์ มีสัญลักษณ์เป็นหญิงสาวพรหมจรรย์มีปีก ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกันย์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ถึง 22 กันยายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึง 17 ตุลาคม
ข้อมูลทั่วไปราศีกันย์
* สัญลักษณ์ : รวงข้าว ที่หญิงพรหมจรรย์ถือ
* อวัยวะ: ลำไส้ แสดงถึงลักษณะนิสัยของราศีกันย์ซึ่งเป็นผู้วิเคราะห์และมีความละเอียดถี่ ถ้วน เนื่องจากระบบย่อยอาหารทำหน้าที่แยกสารอาหารออกจากกากอาหาร เพื่อส่งไปดูดซึมในร่างกาย
* ธาตุ : ดิน (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ และ ราศีมังกร)กลุ่มราศีธาตุดิน จะแสดงถึงความมั่นคง เปี่ยมด้วยความรู้สึก และยึดติดกับความเป็นจริง เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุลมจะทำให้ดินแห้งแล้ง ธาตุไฟจะเผาดิน แต่สำหรับการคู่กับธาตุน้ำแล้วจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับดิน
* ดาวเคราะห์ : ดาวพุธ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความจำและความละเอียดถี่ถ้วน ของชาวราศีกันย์ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของชาวราศีกันย์อย่างมาก(เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน)
* คุณสมบัติ: ผันแปร หรือ กลุ่ม 2 ลักษณะ (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน ราศีธนู และ ราศีมีน)กลุ่มราศีผันแปรคือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงที่ฤดูกาลกำลังเปลี่ยน ซึ่งทำให้ลักษณะนิสัยของกลุ่มชาวราศีนี้มีหลายบุคลิก สามารถปรับตัวได้เก่ง และแก้ปัญหาได้ค่อนข้างดี สำหรับราศีธนูอยู่ในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่จากช่วงฤดูร้อนไปยังฤดู ใบไม้ร่วง นอกจากนั้นสัญลักษณ์ของราศีกันย์แสดงถึงความเป็น 2 ลักษณะโดยหญิงพรหมจรรย์ที่เป็นนางฟ้า ครึ่งมนุษย์ครึ่งนก
* เพศ: หญิง หรือ กลุ่ม ลบ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ และ ราศีมังกร ซึ่งอยู่ธาตุดินด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุน้ำซึ่งประกอบด้วย ราศีกรกฎ ราศีพฤศจิก และ ราศีมีน ) กลุ่มราศีเพศหญิงหรือราศีกลุ่มลบ ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่อ่อนไหว สามารถยอมรับอะไรได้ง่าย มีความสุขุม การคบหาสมาคมไม่เน้นปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ มักเป็นผู้ที่ยึดติดกับอดีต ในทางกลับกันอาจกลายเป็นคนที่น่าเบื่อ ขี้ระแวงและช่างวิตกกังวล
* ลักษณะนิสัย: แบบสังคม (เช่นเดียวกับ ราศีสิงห์ ราศีตุลย์ และ ราศีพฤศจิก)
เนื่องจากราศีกันย์เป็นราศีในกลุ่มแบบสังคม จึงเป็นลักษณะเด่นที่ชอบช่วยเหลือ ให้บริการผู้อื่น และให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพส่วนตัวหรือสุขภาพของคนที่อยู่รอบข้าง โดยลักษณะนิสัยราศีกันย์จึงเหมาะกับอาชีพพยาบาลหรือแพทย์มาก นอกจากนั้นด้วยการที่เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน ช่างวิเคราะห์ จึงทำให้การทำงานออกมาทุกครั้งมีประสิทธิภาพ และบางครั้งทำให้ชาวราศีกันย์วิตกกังวลกับความสมบูรณ์แบบของงานมากเกินไป และด้วยการที่ชาวราศีกันย์ชอบความสมบูรณ์ในทุกๆ รายละเอียดทำให้บางครั้งก็หยุดไม่ได้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น ซึ่งกลายเป็นข้อบกพร่องของชาวราศีกันย์ได้เช่นกัน
เนื้อคู่ของคนที่เกิดราศีกันย์แล้ว ในทางโหรศาสตร์เนื้อคู่ที่ถูกโฉลกกันกับราศีกันย์ ก็คือ คนที่เกิดราศีมีน ราศีเมถุน และราศีธนู ซึ่งคนที่เกิดราศีอื่นที่นอกเหนือไปจาก สามราศีข้างต้นที่กล่าวมาก็สามารถที่จะคบกับชาวราศีกันย์ได้ แต่ว่าต้องมีความพยายามและต้องยอมรับเขาให้ได้ เพราะชาวราศีกันย์ค่อนข้างจะ จุกจิกจู้จี้เจ้ากี้เจ้าการ เป็นคนเจ้าระเบียบ
ความรักชาวราศีกันย์ จะเป็นที่รักของคนรอบ ข้าง เนื่องจากชาวราศีกันย์ ชอบที่จะช่วยเหลือคนอื่น เพราะชาวราศีนี้จะเป็นคน ที่มีความอ่อนโยน มีจิตใจที่ดีงาม ขยัน มีความมานะ และใจเย็น บางครั้งจะเป็นคนขี้อาย แต่ถ้าได้คบกับคนที่ มีความเชื่อมั่นกล้าแสดงออก ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเขาล่ะก็ เขาจะเป็นคนที่มีเสน่ห์ ดูดีไปอีกแบบ น่าคบค้าสมาคมด้วย
ชาวราศีกันย์ จะเป็นคนที่ดูแลเอาใจใส่ ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสุขภาพอนามัย ชอบการออกกำลังกาย ชอบเล่นกีฬา หรืออาหารการกินอยู่ โดยเฉพาะกับคนรัก และเพื่อนสนิท เขาจะดูแลเอาใจใส่ได้ดี เทคแคร์ทุกอย่าง นับได้ว่าเป็นคนที่มีความโรแมนติก ดีมาก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีพิจิก Scorpio

ราศีพิจิก (Scorpio จากภาษาลาติน แปลว่า แมงป่อง) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 8 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีตุลย์และราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็น แมงป่อง(บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 21 พฤศจิกายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม
ข้อมูลทั่วไปราศีพิจิก
* สัญลักษณ์ : แมงป่อง
* อวัยวะ: อวัยวะเพศ บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของชาวราศีพิจิกที่รักการเปลี่ยนแปลงเสมอๆ มีการหายไปของสิ่งหนึ่งแต่สิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นใหม่ เช่นเดียวกับอวัยวะเพศซึ่งมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายและก็มี หน้าที่ในการให้กำเนิดชีวิตใหม่ๆขึ้นมา นอกจากนั้นชาวราศีพิจิกยังถือได้ว่าเป็นตัวแทนสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเพศมาก ที่สุด เนื่องจากการเสน่ห์ที่น่าหลงใหลและความลึกลับน่าค้นหา
* ธาตุ : น้ำ (เช่นเดียวกับ ราศีกรกฎ และ ราศีมีน) กลุ่มราศีธาตุน้ำ จะแสดงถึงแนวทางการปฏิบัติ ความมีตัวตนและอารมณ์ เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุไฟจะทำให้น้ำเดือด ธาตุลมจะทำให้น้ำระเหย แต่สำหรับการคู่กับธาตุดินแล้วจะช่วยกำหนดเส้นทางและกำหนดรูปร่างให้น้ำไหล ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
* ดาวเคราะห์ : ดาวพลูโต เทพพลูโตเป็นตัวแทนแห่งความตาย และการเกิดใหม่เนื่องจากเป็นดาวเคาระห์ดวงสุดท้าย(ที่ค้นพบได้) ของระบบสุริยจักรวาล ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสนใจของชาวราศีพิจิกเกี่ยวกับไสยศาสตร์และทำให้พวกเขา มีบุคลิกที่ดูเล้นลับน่าค้นหา(ในตำราเดิมจะเป็นดาวอังคารเช่นเดียวกับ ราศีเมษ)
* คุณสมบัติ: คงที่ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ ราศีสิงห์ และ ราศีกุมภ์) กลุ่มราศีคงที่ที่ คือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงปกติ ไม่ใช่ราศีแรกในการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ หรือช่วงจุดเปลี่ยนของฤดูกาล ราศีกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์ มีความเป็นเอกเทศน์สูง และ มีความมุ่งมั่น
* เพศ: หญิง หรือ กลุ่ม ลบ (เช่นเดียวกับ ราศีกรกฎ และ ราศีมีน ซึ่งอยู่ธาตุน้ำด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุดินซึ่งประกอบด้วย ราศีพฤษภ ราศีกันย์ และ ราศีมังกร) กลุ่มราศีเพศหญิงหรือราศีกลุ่มลบ ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่อ่อนไหว สามารถยอมรับอะไรได้ง่าย มีความสุขุม การคบหาสมาคมไม่เน้นปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ มักเป็นผู้ที่ยึดติดกับอดีต ในทางกลับกันอาจกลายเป็นคนที่น่าเบื่อ ขี้ระแวงและช่างวิตกกังวล
* ลักษณะนิสัย: แบบสังคม (เช่นเดียวกับ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ และราศีตุลย์)
ชาวราศีพิจิกมีบุลคลิกที่ลึกลับ ทำให้เป็นเสน่ห์ของคนที่ทั่วไปที่อยากเข้ามารู้จักคนราศีนี้ นิสัยทั่วไปของชาวราศีพิจิกมักเก็บเรื่องราวต่างๆและนิสัยที่แท้จริงไว้ มากกว่าที่จะแสดงออกมาทั้งหมด ความรู้ทางด้านไสยศาสตร์ก็เป็นอีกเรื่องที่ชาวราศีพิจิกหลายคนให้ความสนใจ เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องที่ลึกลับและน่าสนใจที่จะค้นคว้า ชาวราศีพิจิกชอบที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเสมอ จนทำให้คนรอบข้างจะหาบุคลิกที่แท้จริงของเขาได้ยาก การที่เรื่องราวต่างๆของชาวราศีพิจิกมักถูกเก็บอย่างลับๆทำให้บางครั้ง ชาวราศีนี้เป็นคนที่วิตกกังวลกับเรื่องต่างๆได้ง่าย แต่ในทางกลับกัน ถ้าเขาหรือเธอถูกทำร้ายหรือทำให้ไม่พอใจ อารมณ์ที่รุนแรงก็สามารถแสดงออกมาได้และชาวราศีพิจิกก็จะไม่กลัวถ้าจะต้อง เผชิญหน้าหรือต้องต่อสู้กับใคร
ชาวพิจิกนั้นเปรียบได้ เสมือนกับคนสองคนอยู่ในร่างเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งคนที่ดีแสนดี และเลวแสนเลว ได้ขึ้นอยู่กับช่วงอารมณ์ ของเขาในตอนนั้น เนื่องจากคนที่เกิดราศีพิจิก นั้นเป็นคนที่มี จิตใจที่อ่อนไหวได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นคนที่มีความพยายามสูง ประมาณว่า ถ้าหากเขาอยากได้ของสิ่งใด หรืออะไรสักอย่างเขาก็จะ พยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มา ซึ่งของสิ่งนั้น เพราะเขามีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่บางครังคนที่เกิดราศีพิจิกก็มีความน่ากลัว เนื่องจากชาวราศีนี้ จะเป็นคนที่มีอารมณ์ค่อนข้างแปรปรวน
สำหรับ ความรักของคนที่เกิดราศีพิจิก เนื่องจากชาวราศีพิจิก จะเป็นคนที่ ไม่ค่อยอยู่กับที่ ไปไหนมาไหนบ่อยครั้ง เขาจึงเป็นคนที่ไม่ชอบ ให้ใครมาควบคุมความประพฤติ ประมาณว่าไปไหน ก็ไม่ต้องโทรรายงาน ตลอดว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่ อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร กินข้าวหรือยัง สำหรับการกระทำกับคนที่ชาวราศีนี้รัก เขาก็จะเป็นคนตรงไปตรงมา เทคแคร์เอาใจใส่คนที่เขารัก และเขาก็ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลจาก คนที่เขารักเช่นกัน เขามีความต้องการความรักเท่าๆ กับข้าวของเงินทองต่างๆ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีตุลย์ Libra

ราศีตุลย์ (Libra จากภาษาลาติน แปลว่า ความสมดุล) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 7 ตามตำราของโหรศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีกันย์และราศีพฤศจิก มีสัญลักษณ์เป็นตาชั่ง ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีตุลย์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 22 ตุลาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ถึง 16 พฤศจิกายน
ข้อมูลทั่วไปราศีตุลย์
* สัญลักษณ์ : ตาชั่ง
* อวัยวะ: ไต เช่นเดียวกับชาวราศีตุลย์ที่ชอบรักษาความสมดุลของตนเองให้เข้ากับสิ่งรอบ ข้างเสมอ เพราะนอกจากไตจะมี 2 ข้างแล้ว ไตยังมีหน้าที่สำคัญในการรักษาความสมดุลของน้ำและสารเคมีต่างๆในร่างกายอีก ด้วย
* ธาตุ : ลม (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน และ ราศีกุมภ์)กลุ่มราศีธาตุลม จะแสดงถึงความคิด ทัศนคติ และการสื่อสาร เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุดินจะบดบังลม ธาตุน้ำจะขวางทางของลม แต่สำหรับการคู่กับธาตุไฟแล้วจะทำให้ลมยกตัวสูงขึ้น และลอยได้ดีขึ้น
* ธาตุลม คุณสมบัติจรราศีของราศีตุลย์ เปรียบเสมือนสายลมที่พัดไปในทิศทางเดียว เป็นทิศทางที่แน่นอน
* ดาวเคราะห์ : ดาวศุกร์ ซึ่งได้ให้อิทธิพลแก่ชาวราศีตุลย์เกี่ยวกับการให้ความสำคัญของคู่รัก เนื่องจากชาวราศีตุลย์จะนึกถึงการอยู่เป็นคู่เสมอ รวมถึงการมีความสนใจทางด้านความงามตามธรรมชาติด้วย(เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ)
* คุณสมบัติ: จรราศี (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ ราศีกรกฎ และ ราศีมังกร) กลุ่มจรราศีคือ กลุ่มของราศีที่เป็นราศีแรกของการเปลี่ยนฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวง อาทิตย์โดยเหตุผลนี้เอง ราศีในกลุ่มนี้จะมีความเป็นผู้ริเริ่มและผู้สร้างสรรค์สูง สำหรับราศีเมษ จะเป็นราศีแรกในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ ซึ่งทำให้ซีกโลกเหนือเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง (สำหรับซีกโลกใต้จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ)
* เพศ: ชาย หรือ กลุ่ม บวก (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน และ ราศีกุมภ์ ซึ่งอยู่ธาตุลมด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุไฟซึ่งประกอบด้วย ราศีเมษ ราศีสิงห์ และ ราศีธนู)กลุ่มราศีเพศชายหรือราศีกลุ่มบวก จะมีลักษณะนิสัยชอบเข้าสังคม รักเพื่อนฝูง ชอบทำงาน ไม่ชอบยึดติด มุ่งที่จะข้างหน้า แต่ในทางกลับกันกลับขาดความเห็นอกเห็นใจ และอารมณ์รุนแรง
* ลักษณะนิสัย: แบบสังคม (เช่นเดียวกับ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ และ ราศีพฤศจิก)
ชาวราศีตุลย์ให้ความสำคัญกับสิ่งรอบข้างตัวเองเสมอ รวมถึงการสนใจความงดงามตามธรรมชาติและศิลปะด้วย โดยเฉพาะคู่ของเขาหรือเธอแล้วจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด รายละเอียดที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ความสมดุลทางด้านความสัมพันธ์ ชาวราศีตุลย์จึงมีบุคลิกที่เหมาะกับการอยู่กับสังคมโดยมีมารยาทที่ดีและมี เสน่ห์ให้คนเข้าใกล้ ชาวราศีตุลย์ชอบทำงานแบบกลุ่ม เพราะพวกเขามักจะเปิดใจฟังผู้อื่นเสมอในการตัดสินใจทำอะไร รวมถึงการสักความเห็นของผู้อื่นก่อนการตัดสินใจด้วย แต่ในบางครั้งการที่ติดกับการทำงานเป็นกลุ่ม ชอบฟังความคิดเห็นผู้อื่นก่อน อาจทำให้บางทีชาวราศีตุลย์ขี้เกียจเกินไปในการที่จะเริ่มทำอะไรด้วยตน เองอย่างจริงๆจังๆ
คนที่เกิดราศีตุลย์ จะเป็นคนที่มีเหตุผล มีมุมมองที่กว้างไกล ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่น รักความสามัคคี รักสันติ เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง จึงทำให้เป็นที่รักของคนรอบข้าง มีเสน่ห์โดยกำเนิด และเป็นคนฉลาด มีน้ำใจกับทุกๆ คนที่รู้จัก
ใน เรื่องของความรัก สำหรับชาวราศีตุลย์แล้ว เนื่องจากเขาเป็นคนฉลาด ดังนั้น เขาจึงมักเป็นฝ่ายรับมากกว่า ฝ่ายให้ ถ้าเขาจะคบกับใครสักคน เขาต้องมองดูถึง ผลตอบแทนที่เขาจะได้รับ มีมากน้อยเพียงใด สิ่งที่เขาจะได้รับ และสิ่งที่เขาให้ มันต้องไม่สูญเปล่า มีความสัมพันธ์ มีความยุติธรรม และชาวราศีตุลย์จะไม่ชอบกับการผูกมัดหรือว่า ยึดติดกับใครมากนัก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีธนู Sagittarius

ราศีธนู (Sagittarius จากภาษาลาตินแปลว่า นักยิงธนู) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 9 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีพฤศจิกและราศีมังกร มีสัญลักษณ์เป็น เซนทอร์กำลังยิงธนู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีธนูนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน ถึง 21 ธันวาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 14 มกราคม
ข้อมูลทั่วไปราศีธนู
* สัญลักษณ์ : ลูกศร
* อวัยวะ: ช่วงสะโพกถึงต้นขา แสดงถึงลักษณะนิสัยของราศีธนูที่ชอบการเดินทางและผจญภัย เนื่องจากช่วงสะโพกและต้นขาเป็นอวัยวะหนึ่งที่ช่วยให้คนสามารถขยับขาและเท้า เพื่อก้าวไปข้างหน้าได้
* ธาตุ : ไฟ (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ และ ราศีสิงห์) กลุ่มราศีธาตุไฟ จะแสดงถึงการกระทำ การมีเสน่ห์เร่าร้อน และพลังงาน เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุดินจะคลุมไฟ ธาตุน้ำจะดับไฟ แต่สำหรับการคู่กับธาตุลมแล้วจะทำให้ไฟโหมกระหน่ำและมีชีวิตชีวาขึ้น
* ดาวเคราะห์ : ดาวพฤหัส ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแสวงหาความรู้ต่างๆ ของชาวราศีธนู(เช่นเดียวกับ ราศีมีน ก่อนที่จะมีการค้นพบดาวเนปจูน)
* คุณสมบัติ: ผันแปร หรือ กลุ่ม 2 ลักษณะ (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน ราศีกันย์ และ ราศีมีน) กลุ่มราศีผันแปรคือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงที่ฤดูกาลกำลังเปลี่ยน ซึ่งทำให้ลักษณะนิสัยของกลุ่มชาวราศีนี้มีหลายบุคลิก สามารถปรับตัวได้เก่ง และแก้ปัญหาได้ค่อนข้างดี สำหรับราศีธนูอยู่ในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่จากช่วงฤดูใบไม้ร่วงไปยัง ฤดูหนาว นอกจากนั้นสัญลักษณ์ของราศีธนูแสดงถึงความเป็น 2 ลักษณะโดยเซนทอร์เป็นสัตว์ในเทพนิยายที่ผสมระหว่างคนและม้า
* เพศ: ชาย หรือ กลุ่ม บวก (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ และ ราศีสิงห์ ซึ่งอยู่ธาตุไฟด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุลมซึ่งประกอบด้วย ราศีเมถุน ราศีตุลย์ และ ราศีกุมภ์) กลุ่มราศีเพศชายหรือราศีกลุ่มบวก จะมีลักษณะนิสัยชอบเข้าสังคม รักเพื่อนฝูง ชอบทำงาน ไม่ชอบยึดติด มุ่งที่จะข้างหน้า แต่ในทางกลับกันกลับขาดความเห็นอกเห็นใจ และอารมณ์รุนแรง
* ความสนใจ: แบบจักรวาล (เช่นเดียวกับ ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และ ราศีมีน) (สนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมและอุดมคติ)
ชาวราศีธนูมีความรักอิสระสูง ไม่ชอบการผูกมัด หรือ การยึดติด เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ประจำราศีนี้ คือเซนทอร์ เนื่องจากชาวราศีธนูยังรักการเดินทาง และการผจญภัยทำให้เป็นคนที่ชอบหาความรู้เพิ่มเติมเหมือนกับนักปราชญ์ซึ่งมัก สนใจใคร่รู้เรื่องใหม่ๆเสมอๆ นอกจากนั้นจากการที่ชาวราศีธนูมองโลกในแง่ดี ซื่อตรง และรักสนุกทำให้กลายเป็นเสน่ห์ของเขาหรือเธอได้เช่นกัน แต่ในทางกลับกันการที่พวกเขารักอิสระ มองโลกในแง่ดี และ รักผจญภัยมาก ทำให้บางครั้งชาวราศีนี้ถูกมองว่าเป็นคนขาดความรอบคอบ และไม่เป็นระเบียบ รวมถึงการเป็นคนพูดตรงไปตรงมา ทำให้บางคนไม่พอใจ ซึ่งถ้าหากมองอีกแง่หนึ่งจะพบว่า ราศีนี้จะเป็นอีกราศีหนึ่งที่เชื่อใจได้ว่าเขาหรือเธอจะไม่โกหกคุณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีกุมภ์ Aquarius

ราศีกุมภ์ (Aquarius จากภาษาลาติน แปลว่า คนโทใส่น้ำ) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 11 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีมังกรและราศีมีน มีสัญลักษณ์เป็นผู้ชายถือคนโทน้ำ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกุมภ์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 20 มกราคม ถึง 18 กุมภาพันธ์ ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ถึง 14 มีนาคม
ข้อมูลทั่วไปราศีกุมภ์
* สัญลักษณ์ : กระแสน้ำ หรือ กระแสลม
* อวัยวะ: หัวเข่าและระบบประสาท หัวเข่าช่วยให้ขาทั้ง 2 ข้างงอและพับเพื่อเดินไปข้างหน้าได้ ระบบประสาททำหน้าที่ส่งผ่านสารเคมีและข้อมูลต่างๆให้กับส่วนอื่นๆของร่างกาย เหมือนกับลักษณะนิสัยของชาวราศีกุมภ์ที่มีความแตกต่างและมักนำสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆให้กับคนรอบข้างเสมอ
* ธาตุ : ลม (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน และ ราศีตุลย์) กลุ่มราศีธาตุลม จะแสดงถึงความคิด ทัศนคติ และการสื่อสาร เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุดินจะบดบังลม ธาตุน้ำจะขวางทางของลม แต่สำหรับการคู่กับธาตุไฟแล้วจะทำให้ลมยกตัวสูงขึ้น และลอยได้ดีขึ้น
* ดาวเคราะห์ : ดาวยูเรนัส(ในตำราเดิมจะเป็นดาวเสาร์ซึ่งเหมือนกับ ราศีมังกร) เทพแห่งดาวยูเรนัสเป็นเทพแห่งกลไกและวิทยาศาสตร์ด้วย ดังนั้นจึงมีอิทธิพลต่อการเป็นนักวิทยาศาสตร์ของชาวราศีกุมภ์
* คุณสมบัติ: คงที่ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ ราศีสิงห์ และ ราศีพฤศจิก) กลุ่มราศีคงที่ที่คือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงปกติ ไม่ใช่ราศีแรกในการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ หรือช่วงจุดเปลี่ยนของฤดูกาล ราศีกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์ มีความเป็นเอกเทศน์สูง และ มีความมุ่งมั่น
* เพศ: ชาย หรือ กลุ่ม บวก (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน และ ราศีตุลย์ ซึ่งอยู่ธาตุลมด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุไฟซึ่งประกอบด้วย ราศีเมษ ราศีสิงห์ และ ราศีธนู) กลุ่มราศีเพศชายหรือราศีกลุ่มบวก จะมีลักษณะนิสัยชอบเข้าสังคม รักเพื่อนฝูง ชอบทำงาน ไม่ชอบยึดติด มุ่งที่จะข้างหน้า แต่ในทางกลับกันกลับขาดความเห็นอกเห็นใจ และอารมณ์รุนแรง
* ความสนใจ: แบบจักรวาล (เช่นเดียวกับ ราศีธนู ราศีมังกร และ ราศีมีน) (สนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมและอุดมคติ)
ชาวราศีกุมภ์จะให้ความสำคัญกับคนรอบข้างเสมอ เป็นคนที่ชอบออกสังคม นึกถึงความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนและสิทธิความเป็นมนุษยชนอีกด้วย รวมทั้งชาวราศีกุมภ์มักมีแนวคิดที่ชอบคิดอะไรแปลกๆใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับความคิดเดิมๆซ้ำๆ ออกแนวที่จะกบฏต่อข้อห้ามต่างๆ และด้วยการคิดออกนอกกรอบนี้ทำให้เขาสามารถค้นพบหรือหาสิ่งแปลกใหม่ที่น่า สนใจได้ นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายคนก็เกิดในช่วงราศีกุมภ์เช่นกัน แต่เนื่องจากการที่คิดออกนอกกรอบ ทำให้บางครั้งคนรอบข้างจะมองว่าเขาเป็นคนที่แปลกแยกและแตกต่างจากคนอื่นเสมอ
ชาวราศีกุมภ์จะเป็นคนที่มีอิสระในความคิด มีมุมมองที่กว้างไกล ยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่น ที่สำคัญเขาจะคอยเป็นคนจุดชนวนความคิดต่างๆ ให้กับทุกคนรอบข้าง ประมาณว่าคอยให้คำปรึกษา และแนะนำสิ่งดีๆ ได้จึงเป็นคนมีเสน่ห์ต่อผู้พบเห็นโดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วชาวราศีกุมภ์ จึงเป็นคนค่อนข้างจะเจ้าชู้ ใครที่คิดจะคบกับชาวราศีกุมภ์ ก็ต้องยอม รับกับความเจ้าชู้ของชาวราศีนี้ให้ได้
คน ที่เกิดในราศีกุมภ์ โดยทั่วไปก็จะเป็นคนรักเพื่อน และไม่ชอบการ ใช้ความรุนแรง ไม่ชอบการทะเลาวิวาท และถ้าหากเพื่อนหรือคนใครๆ กำลังทะเลาวิวาทกัน เขาก็จะพยายามไกล่เกลี่ย เป็นตัวประสารความคิด ที่แตกต่าง ปัญหาต่างๆ เพื่อให้ทั้งคู่ไม่ทะเลาะกัน
เนื่อง จากชาวราศีกุมภ์เป็นคนที่ติดเพื่อน และมีเพื่อนมากมาย อีกทั้งยังเป็นคน ช่างคิดช่างทำ ซึ่งเขาจะชอบที่จะสร้างบรรยากาศ สร้างความโรแมนติก เพื่อให้เพื่อนๆ หรือว่าคนที่เขารักเกิดความประทับใจ และจดจำสิ่งที่ดีๆ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีมังกร Capricorn

ราศีมังกร (Capricorn จากภาษาลาตินแปลว่า แพะทะเล) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 10 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีธนูและราศีกุมภ์ มีสัญลักษณ์เป็นครึ่งแพะภูเขาครึ่งปลา ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมังกรนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม ถึง 19 มกราคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 12 กุมภาพันธ์
ข้อมูลทั่วไปราศีมังกร
* สัญลักษณ์ : แพะทะเล
* อวัยวะ: หัวเข่า กระดูก และข้อต่อ แสดงให้เห็นถึงการเป็นคนรักการทำงาน และเป็นคนที่แข็งแกร่งของชาวราศีมังกร เนื่องจากกระดูกและข้อต่อมีความแข็งแรงและช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้ดี
* ธาตุ : ดิน (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ และ ราศีกันย์) กลุ่มราศีธาตุดิน จะแสดงถึงความมั่นคง เปี่ยมด้วยความรู้สึก และยึดติดกับความเป็นจริง เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุลมจะทำให้ดินแห้งแล้ง ธาตุไฟจะเผาดิน แต่สำหรับการคู่กับธาตุน้ำแล้วจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับดิน
* ธาตุดินคุณสมบัติจรราศี ของราศีมังกร เปรียบเสมือนภูเขาที่มียอดชี้ขึ้นฟ้า มั่งคงและทะเยอทยาน
* ดาวเคราะห์ : ดาวเสาร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความทะเยอทะยานและความพยายามเพื่อไปถึงจุดสูงสุดของชาวราศีมังกร(เช่นเดียวกับ ราศีกุมภ์ ก่อนที่จะมีการค้นพบดาวยูเรนัส)
* คุณสมบัติ: จรราศี (เช่นเดียวกับ ราศีเมษ ราศีกรกฎ และราศีตุลย์) กลุ่มจรราศีคือ กลุ่มของราศีที่เป็นราศีแรกของการเปลี่ยนฤดูกาลตามการเคลื่อนที่ของดวง อาทิตย์โดยเหตุผลนี้เอง ราศีในกลุ่มนี้จะมีความเป็นผู้ริเริ่มและผู้สร้างสรรค์สูง สำหรับราศีมังกร จะเป็นราศีแรกในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ ซึ่งทำให้ซีกโลกเหนือเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว (สำหรับซีกโลกใต้จะเข้าสู่ฤดูร้อน)
* เพศ: หญิง หรือ กลุ่ม ลบ (เช่นเดียวกับ ราศีพฤษภ และ ราศีกันย์ ซึ่งอยู่ธาตุดินด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุน้ำซึ่งประกอบด้วย ราศีกรกฎ ราศีพฤศจิก และ ราศีมีน) กลุ่มราศีเพศหญิงหรือราศีกลุ่มลบ ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่อ่อนไหว สามารถยอมรับอะไรได้ง่าย มีความสุขุม การคบหาสมาคมไม่เน้นปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ มักเป็นผู้ที่ยึดติดกับอดีต ในทางกลับกันอาจกลายเป็นคนที่น่าเบื่อ ขี้ระแวงและช่างวิตกกังวล
* ความสนใจ: แบบจักรวาล (เช่นเดียวกับ ราศีธนู ราศีกุมภ์ และ ราศีมีน) (สนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมและอุดมคติ)
ชาวราศีมังกรมีความทะเยอทะยาน เช่นเดียวกับแพะภูเขาที่ต้องการจะปีนไปสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ และด้วยการที่เขาหรือเธอมองเห็นว่าการไปสู่ความสำเร็จต้องใช้ความพยายาม ชาวราศีมังกรจึงมีความรอบคอบ ระมัดระวังในการตัดสินใจทำอะไรอย่างมาก จนบางครั้งกลายเป็นคนขี้ระแวงและเก็บตัวได้ ความสนใจของชาวราศีมังกรจึงมักไปในทิศทางของการเมืองและธุรกิจเสียส่วนใหญ่ จากการที่เป็นผู้ที่ทำงานหนัก ชาวราศีมังกรจึงเป็นคนที่ไม่ยอมผ่อนผันอะไรง่ายๆกลายเป็นคนที่เข้มงวดมากได้ เช่นกัน
คนมังกร เป็นสัญลักษณ์แห่งความมานะ แข็งแรงขยัน ดังนั้นผู้ที่เกิดในราศี มังกร จึงเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ มีความมานะ ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากใดๆ เขาจะทำในสิ่งที่เขาทำ ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ชาวราศีมังกรจะเป็นคนที่มีรสนิยมสูง
ความ รักกับชาวราศีมังกร คนที่เกิดในราศีมังกรโดยทั่วไป จะเป็นคนง่ายๆ อะไรก็ได้มีการเรียนรู้คนอื่นอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้ปรับตัว ให้เข้ากับคนอื่นได้ดี เนื่องจากชาวราศีมังกร เป็นคนสนุกสนาน ชอบหาสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ให้กับชีวิต ดังนั้นเขาก็จะพยายามนำสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ มานำเสนอเพื่อความแปลกใหม่และมีความ น่าตื่นเต้นให้กับคนที่เขารัก หรือคนรอบ ๆ ข้างได้เสมอ ชาวราศีมังกร จะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ซึ่งจะออกเป็นคนหัวโบราณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราศีมีน Pisces

ราศีมีน (Pisces จากภาษาลาติน แปลว่า ปลา-พหุพจน์) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีสุดท้าย ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีกุมภ์และราศีเมษ มีสัญลักษณ์เป็น ปลา 2 ตัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมีนนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 20 มีนาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 13 เมษายน
ข้อมูลทั่วไปราศีมีน
* สัญลักษณ์ : ปลา 2 ตัว
* อวัยวะ: เท้าแสดงถึงการที่ราศีมีนเป็นจักรราศีสุดท้าย และเท้าก็เป็นอวัยวะที่อยู่ล่างสุด รวมถึงบ่งบอกลักษณะนิสัยของชาวราศีมีนที่มักจะยอมรับและให้สิ่งต่างๆเข้ามา มีอิทธิพลกับตัวเองได้ง่าย
* ธาตุ : น้ำ (เช่นเดียวกับ ราศีกรกฎ และ ราศีพฤศจิก) กลุ่มราศีธาตุน้ำ จะแสดงถึงแนวทางการปฏิบัติ ความมีตัวตนและอารมณ์ เมื่อเข้าคู่กับกลุ่มราศีธาตุอื่นแล้ว ธาตุไฟจะทำให้น้ำเดือด ธาตุลมจะทำให้น้ำระเหย แต่สำหรับการคู่กับธาตุดินแล้วจะช่วยกำหนดเส้นทางและกำหนดรูปร่างให้น้ำไหล ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
* ดาวเคราะห์ : ดาวเนปจูน เทพเนปจูนเป็นเทพแห่งมหาสมุทร แสดงถึงน้ำปริมาณมหาศาลไหลไปมาอย่างไร้ทิศทาง เหมือนกับลักษณะนิสัยของชาวราศีมีนที่มักหันเหไปในทิศทางต่างๆได้ง่าย นอกจากนั้นเทพเนปจูนยังเป็นเทพเกี่ยวกับจิตวิญญาณ และศาสนาด้วย ซึ่งส่งผลต่อ การที่ชาวราศีมีนมีความเชื่อที่เข้มแข็ง (ตามตำราเดิมจะเป็นดาวพฤหัส เช่นเดียวกับ ราศีธนู)
* คุณสมบัติ: ผันแปร หรือ กลุ่ม 2 ลักษณะ (เช่นเดียวกับ ราศีเมถุน ราศีกันย์ และ ราศีธนู)กลุ่มราศ ผันแปรคือ กลุ่มของราศีที่อยู่ในช่วงที่ฤดูกาลกำลังเปลี่ยน ซึ่งทำให้ลักษณะนิสัยของกลุ่มชาวราศีนี้มีหลายบุคลิก สามารถปรับตัวได้เก่ง และแก้ปัญหาได้ค่อนข้างดี สำหรับราศีมีนอยู่ในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่จากช่วงหนาวไปยังฤดูใบไม้ ผลิ นอกจากนั้นสัญลักษณ์ของราศีมีนแสดงถึงความเป็น 2 ลักษณะโดยปลา 2 ตัวไว้ในกระแสในทิศทางที่สวนกัน
* เพศ: หญิง หรือ กลุ่ม ลบ (เช่นเดียวกับ ราศีกรกฎ และ ราศีพฤศจิก ซึ่งอยู่ธาตุน้ำด้วยกัน รวมถึง กลุ่มราศีธาตุดินซึ่งประกอบด้วย ราศีพฤษภ ราศีกันย์ และ ราศีมังกร)กลุ่มราศีเพศหญิงหรือราศีกลุ่มลบ ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่หวั่นไหว สามารถยอมรับอะไรได้ง่าย มีความสุขุม การคบหาสมาคมไม่เน้นปริมาณแต่เน้นที่คุณภาพ มักเป็นผู้ที่ยึดติดกับอดีต ในทางกลับกันอาจกลายเป็นคนที่น่าเบื่อ ขี้ระแวงและช่างวิตกกังวล
* ความสนใจ: แบบจักรวาล (เช่นเดียวกับ ราศีธนู ราศีมังกร และ ราศีกุมภ์) (สนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมและอุดมคติ)
ชาวราศีมีนมักจะล่องลอยไปตามกระแสของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่าย แต่ด้วยลักษณะนิสัยดังกล่าว ทำให้ชาวราศีมีนเข้าใจและยอมรับสิ่งต่างๆได้ดี นอกจากนั้นยังมักที่จะคิดจินตนาการสิ่งต่างๆ เพ้อฝันถึงสิ่งที่ตนเองชอบ จึงทำให้ชาวราศีมีนมีความคิดสร้างสรรค์มีความเป็นศิลปินค่อนข้างสูง และหลายครั้งหลายคราวชาวราศีมีนก็มักแยกตัวออกมาจากเพื่อนฝูงโดยไม่รู้ตัว ทุกครั้งที่เขาหรือเธอต้องการที่จะนึกถึงหรือฝันเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง ที่เขาสนใจ แต่ก็เนื่องด้วยจากการที่พวกเขาปล่อยตัวเองลอยไปตามกระแสของสิ่งรอบได้ง่าย บางครั้งทำให้ ชาวราศีมีนรู้สึกเจ็บปวดและหดหู่ได้ง่าย ถ้าเรื่องๆเหล่านั้นเข้ามาทำร้ายจิตใจของพวกเขา และมักจะโทษตัวเองหลายครั้งหลายคราวถ้าหากเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น
ชาวราศีมีนเป็นคนที่ช่างฝัน ชอบคิดว่าตัวเอง เป็นอย่างนั้น ตัวเองเป็นอย่างนี้ และเป็นคนเก็บความรู้สึกได้ดี ชาวราศีมีน จะเป็นคนพูดเก่ง เขาสามารถหาเรื่องราว ต่างๆ มาพูดคุยได้อย่างไม่น่าเบื่อ
ชาว ราศีมีนจะเป็นคนง่ายๆ ทำอะไรไม่ค่อยมีพิธีรีตองมากมาย มองโลกในแง่ดี เขามีความเชื่อว่าการที่ทำให้คนรัก เป็นสิ่งที่ดีกว่า การทำให้คนเกียจ ดังนั้นชาวราศีมีนจะไม่ค่อยมีศัตรู ตรงกันข้ามจะ มีแต่คนรัก สำหรับการกระทำต่อคนรักของคนเกิดในราศีมีน เขาจะมีความ อ่อนโยน ให้ความรักความผูกพัน ห่วงหาอาทรต่อคนที่เขารักอย่างสม่ำเสมอ และเขาก็ต้องการที่จะให้คนที่เขารักปฏิบัติกับเขา อย่างที่เขาปฏิบัติด้วยในบางครั้งเขาจะเสียเปรียบคนอื่นอยู่เสมอ เพราะจิตใจที่ดีงามของเขาเอง และการยอมคนอื่นมากเกินไป
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2008-10-23
ปีนักษัตร และพระประจำปี
ปีนักษัตร (ออกเสียง นัก-สัด) เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยการนับรอบละ 12 ปี อันเป็นคติการนับปีที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ทั้งชาวไทย จีน และเวียดนาม เป็นต้น ปีนักษัตร 12 ปีนั้น เริ่มต้นนับที่ปีชวด มีดังนี้
ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ, มะโรง, มะเส็ง, มะเมีย, มะแม, วอก, ระกา, จอ, และ กุน
ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี (อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ นั่นเอง) สัตว์ประจำปีนักษัตรที่นิยมใช้ในหมู่ชาวไทย มีดังนี้
1) ปีชวด หนู พระประจำปีชวด
2) ปีฉลู วัว พระประจำปีฉลู
3) ปีขาล เสือ พระประจำปีขาล
4) ปีเถาะ กระต่าย พระประจำปีเถาะ
5) ปีมะโรง งูใหญ่ พระประจำปีมะโรง
6) ปีมะเส็ง งูเล็ก พระประจำปีมะเส็ง
7) ปีมะเมีย ม้า พระประจำปีมะเมีย
8) ปีมะแม แพะ พระประจำปีมะแม
9) ปีวอก ลิง พระประจำปีวอก
10) ปีระกา ไก่ พระประจำปีระกา
11) ปีจอ สุนัข พระประจำปีจอ
12) ปีกุน สุกร พระประจำปีชวดกุน
ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ, มะโรง, มะเส็ง, มะเมีย, มะแม, วอก, ระกา, จอ, และ กุน
ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี (อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ นั่นเอง) สัตว์ประจำปีนักษัตรที่นิยมใช้ในหมู่ชาวไทย มีดังนี้
1) ปีชวด หนู พระประจำปีชวด
2) ปีฉลู วัว พระประจำปีฉลู
3) ปีขาล เสือ พระประจำปีขาล
4) ปีเถาะ กระต่าย พระประจำปีเถาะ
5) ปีมะโรง งูใหญ่ พระประจำปีมะโรง
6) ปีมะเส็ง งูเล็ก พระประจำปีมะเส็ง
7) ปีมะเมีย ม้า พระประจำปีมะเมีย
8) ปีมะแม แพะ พระประจำปีมะแม
9) ปีวอก ลิง พระประจำปีวอก
10) ปีระกา ไก่ พระประจำปีระกา
11) ปีจอ สุนัข พระประจำปีจอ
12) ปีกุน สุกร พระประจำปีชวดกุน
พระประจำปีชวด
พระประจำปีฉลู

พระประจำปีฉลู
ปางโปรดพุทธมารดา
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) บางแบบวางบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์ บางแบบงอนิ้วพระหัตถ์

พระประจำปีฉลู
ปางห้ามญาติ
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
ที่มา : ธรรมะไทย
พระประจำปีขาล
พระประจำปีเถาะ
พระประจำปีมะโรง
2008-10-22
พระประจำปีมะเส็ง
พระประจำปีมะเมีย
พระประจำปีมะแม
พระประจำปีวอก
พระประจำปีระกา

พระประจำปีระกา (แบบที่ 1)
ปางรับมธุปายาส
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยารับถาดมธุปายาส บางแบบอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ห้อยพระบาท

พระประจำปีระกา (แบบที่ 2)
ปางเสวยมธุปายาส
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ประคองถาดมธุปายาส
ที่มา : ธรรมะไทย
พระประจำปีจอ
พระประจำปีกุน
2008-10-21
ปฏิทินจันทรคติไทย
การนับวันของปฏิทินไทย
การกำหนดวันข้างขึ้น ข้างแรม ของปฏิทินไทย นอกจากคำนึงถึงดิถี (รูปร่างความเป็นเสี้ยว) ของดวงจันทร์แล้ว ยังคำนึงถึง รูปแบบที่เข้าใจง่าย จัดทำได้ง่าย เพื่อให้จัดงานได้ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้คำนวณปฏิทินจึงต้องคิดรูปแบบการทดวัน และทดเดือนที่ง่ายต่อการจดจำ และการบันทึก
1 ปีของปฏิทินไทย ปกติมี 12 เดือน แต่จะมีราวร้อยละ 37 ที่มี 13 เดือน ซึ่งเรียกปีดังกล่าวนี้ว่า ปีอธิกมาส โดยที่ อธิก แปลว่า เพิ่ม, มาส แปลว่า เดือน มีเดือนแปด 2 ครั้ง ไม่ใช่ไปเพิ่มเป็นเดือนที่ 13 ส่วนปีที่มี 12 เดือน เรียกว่า ปกติมาส
เดือนที่ 1 นิยมเรียกว่า เดือนอ้าย ส่วนเดือนที่ 2 เรียกว่าเดือน ยี่ โดยปกติ เดือนที่เป็นตัวเลขคี่ (เช่น อ้าย, 3, 5, 7, 9และ 11) จะมี 29 วัน ส่วนเดือนเลขคู่ (ยี่, 4, 6, 8, 10) จะมี 30วัน ดังนั้น ปีอธิกมาส จึงมี 29x6 + 30x7 = 384 วัน เสมอ
ส่วนปีปกติมาส มี 2 พวก คือ พวกแรก จะมี 29x6 + 30x6 = 354 วัน เรียกว่า ปกติวาร กับพวกที่ 2 เป็นปีที่เพิ่มวันเข้าไป 1 วัน เป็นพิเศษ เรียกว่า อธิกวาร โดยที่ วาร แปลว่า วัน โดยเพิ่มในเดือน 7 ให้เป็น 30 วัน ดังนั้นปีอธิกวาร จึงมี 355วัน
วันที่ 1 ของเดือน เรียกว่า วันขึ้น 1 ค่ำ หรือ ออก 1 ค่ำ (ขึ้นหรือออก แปลว่า ดวงจันทร์ กำลังสว่างเพิ่มขึ้น) วันที่ 16 ไม่ได้เรียกว่า วันขึ้น 16 ค่ำ หรือ ออก 16 ค่ำ แต่เรียกว่า วันแรม 1 ค่ำ (แรม หมายถึง ดวงจันทร์ กำลังสว่างลดลง) ในเดือนที่มี 29วันนี้ ก็จะมีสิ้นสุดแค่วันแรม 14 ค่ำ (ไม่มี วันแรม 15 ค่ำ)
เวลาที่ใช้เปลี่ยนวันทางปฏิทินจันทรคติของไทย คือ เวลารุ่งเช้าของวันถัดไป ไม่ใช่เที่ยงคืน โดยมีการเสนอว่า ควรให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า “รุ่งเช้า” นี้ และเสนอว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยที่เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือเวลา 6 น. ของเส้นลองจิจูด 100 องศา ตะวันออก นั่นคือ เวลา 6:20 น. ตามเวลามาตรฐานของไทย
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ จัดขึ้น 4 วันในเดือนหนึ่ง ๆ คือ วันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันแรม สุดท้ายของเดือน
ตามปฏิทินจันทรคติไทย
เดือน 1 หรือเดือนอ้ายมักเริ่มในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 1
ดูพระประจำเดือน อ้าย
เดือน 2 หรือเดือนยี่มักเริ่มในเดือนธันวาคมหรือมกราคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 2
ดูพระประจำเดือน ยี่
เดือน 3 มักเริ่มในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 3
ดูพระประจำเดือน 3
วันสำคัญในเดือนนี้คือ วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปยังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
เดือน 4 มักเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 4
หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชา ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
ดูพระประจำเดือน 4
เดือน 5 มักเริ่มในเดือนมีนาคมหรือเมษายน มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 5
ดูพระประจำเดือน 5
เดือน 6 มักเริ่มในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 6
ดูพระประจำเดือน 6
วันสำคัญในเดือนนี้คือ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
เดือน 7 มักเริ่มในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ปกติมี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 7 ยกเว้นปีที่มีอธิกวารซึ่งเดือนนี้จะมี 30 วัน (เพิ่มวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 อีกวันหนึ่ง)
หากปีใดมีอธิกมาส (เดือน 8 สองหน) วันวิสาขบูชา ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
ดูพระประจำเดือน 7
เดือน 8 มักเริ่มในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 8
หากปีใดมีอธิกมาส จะมีเดือน 8 สองหน เดือน 8 หลัง นิยมเขียนว่า "8-8"
ดูพระประจำเดือน 8
วันสำคัญในเดือนนี้คือวันอาสาฬหบูชา ปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส วันอาสาฬหบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8-8 ถัดจากวันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเข้าพรรษา
เดือน 9 มักเริ่มในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม มี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 9
ดูพระประจำเดือน 9
เดือน 10 มักเริ่มในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ดูพระประจำเดือน 10
เดือน 11 มักเริ่มในเดือนกันยายนหรือตุลาคม มี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 11
ดูพระประจำเดือน 11
วันสำคัญในเดือนนี้คือวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
เดือน 12 มักเริ่มในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 12
ดูพระประจำเดือน 12
วันสำคัญในเดือนนี้คือวันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกำหนดวันข้างขึ้น ข้างแรม ของปฏิทินไทย นอกจากคำนึงถึงดิถี (รูปร่างความเป็นเสี้ยว) ของดวงจันทร์แล้ว ยังคำนึงถึง รูปแบบที่เข้าใจง่าย จัดทำได้ง่าย เพื่อให้จัดงานได้ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้คำนวณปฏิทินจึงต้องคิดรูปแบบการทดวัน และทดเดือนที่ง่ายต่อการจดจำ และการบันทึก
1 ปีของปฏิทินไทย ปกติมี 12 เดือน แต่จะมีราวร้อยละ 37 ที่มี 13 เดือน ซึ่งเรียกปีดังกล่าวนี้ว่า ปีอธิกมาส โดยที่ อธิก แปลว่า เพิ่ม, มาส แปลว่า เดือน มีเดือนแปด 2 ครั้ง ไม่ใช่ไปเพิ่มเป็นเดือนที่ 13 ส่วนปีที่มี 12 เดือน เรียกว่า ปกติมาส
เดือนที่ 1 นิยมเรียกว่า เดือนอ้าย ส่วนเดือนที่ 2 เรียกว่าเดือน ยี่ โดยปกติ เดือนที่เป็นตัวเลขคี่ (เช่น อ้าย, 3, 5, 7, 9และ 11) จะมี 29 วัน ส่วนเดือนเลขคู่ (ยี่, 4, 6, 8, 10) จะมี 30วัน ดังนั้น ปีอธิกมาส จึงมี 29x6 + 30x7 = 384 วัน เสมอ
ส่วนปีปกติมาส มี 2 พวก คือ พวกแรก จะมี 29x6 + 30x6 = 354 วัน เรียกว่า ปกติวาร กับพวกที่ 2 เป็นปีที่เพิ่มวันเข้าไป 1 วัน เป็นพิเศษ เรียกว่า อธิกวาร โดยที่ วาร แปลว่า วัน โดยเพิ่มในเดือน 7 ให้เป็น 30 วัน ดังนั้นปีอธิกวาร จึงมี 355วัน
วันที่ 1 ของเดือน เรียกว่า วันขึ้น 1 ค่ำ หรือ ออก 1 ค่ำ (ขึ้นหรือออก แปลว่า ดวงจันทร์ กำลังสว่างเพิ่มขึ้น) วันที่ 16 ไม่ได้เรียกว่า วันขึ้น 16 ค่ำ หรือ ออก 16 ค่ำ แต่เรียกว่า วันแรม 1 ค่ำ (แรม หมายถึง ดวงจันทร์ กำลังสว่างลดลง) ในเดือนที่มี 29วันนี้ ก็จะมีสิ้นสุดแค่วันแรม 14 ค่ำ (ไม่มี วันแรม 15 ค่ำ)
เวลาที่ใช้เปลี่ยนวันทางปฏิทินจันทรคติของไทย คือ เวลารุ่งเช้าของวันถัดไป ไม่ใช่เที่ยงคืน โดยมีการเสนอว่า ควรให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า “รุ่งเช้า” นี้ และเสนอว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยที่เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือเวลา 6 น. ของเส้นลองจิจูด 100 องศา ตะวันออก นั่นคือ เวลา 6:20 น. ตามเวลามาตรฐานของไทย
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ จัดขึ้น 4 วันในเดือนหนึ่ง ๆ คือ วันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันแรม สุดท้ายของเดือน
ตามปฏิทินจันทรคติไทย
เดือน 1 หรือเดือนอ้ายมักเริ่มในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 1
ดูพระประจำเดือน อ้าย
เดือน 2 หรือเดือนยี่มักเริ่มในเดือนธันวาคมหรือมกราคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 2
ดูพระประจำเดือน ยี่
เดือน 3 มักเริ่มในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 3
ดูพระประจำเดือน 3
วันสำคัญในเดือนนี้คือ วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปยังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
เดือน 4 มักเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 4
หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชา ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
ดูพระประจำเดือน 4
เดือน 5 มักเริ่มในเดือนมีนาคมหรือเมษายน มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 5
ดูพระประจำเดือน 5
เดือน 6 มักเริ่มในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 6
ดูพระประจำเดือน 6
วันสำคัญในเดือนนี้คือ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
เดือน 7 มักเริ่มในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ปกติมี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 7 ยกเว้นปีที่มีอธิกวารซึ่งเดือนนี้จะมี 30 วัน (เพิ่มวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 อีกวันหนึ่ง)
หากปีใดมีอธิกมาส (เดือน 8 สองหน) วันวิสาขบูชา ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
ดูพระประจำเดือน 7
เดือน 8 มักเริ่มในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 8
หากปีใดมีอธิกมาส จะมีเดือน 8 สองหน เดือน 8 หลัง นิยมเขียนว่า "8-8"
ดูพระประจำเดือน 8
วันสำคัญในเดือนนี้คือวันอาสาฬหบูชา ปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส วันอาสาฬหบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8-8 ถัดจากวันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเข้าพรรษา
เดือน 9 มักเริ่มในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม มี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 9
ดูพระประจำเดือน 9
เดือน 10 มักเริ่มในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ดูพระประจำเดือน 10
เดือน 11 มักเริ่มในเดือนกันยายนหรือตุลาคม มี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 11
ดูพระประจำเดือน 11
วันสำคัญในเดือนนี้คือวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
เดือน 12 มักเริ่มในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 12
ดูพระประจำเดือน 12
วันสำคัญในเดือนนี้คือวันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระประจำเดือนอ้าย
Subscribe to:
Posts (Atom)
ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com
ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com