2008-10-31

พระคาถาชินบัญชร (คำแปล)

พระคาถาชินบัญชร (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย

การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูและ ให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต

ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

ชินบัญชร ปัจจุบันใช้เรียกพระคาถาภาษามคธชุดหนึ่ง นัยว่าเป็นนิพนธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เรียกว่า พระคาถาชินบัญชร ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถป้องกันสรรพอันตรายทั้งหลายได้เหมือนเกราะเพชรและให้โชคให้ลาภตามที่ปรารถนาได้

บทสวดพร้อมคำแปล

เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงนึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานว่า

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

จากนั้นจึงเริ่มสวดพระคาถา


๑.ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา

(พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรัสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์)

๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

(มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น)

๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร

(ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก)

๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก

(พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง)

๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล

(พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย)

๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

(มุนีผู้ประเสริฐคือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง)

๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

(พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ)

๘.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ

(พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลีพระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก)

๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

(ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่)

๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

(พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ)

๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

(พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ)

๑๒.ชินา นาวะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา

(ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น)

๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

(ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ)

๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา

(ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล)

๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ

(ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ)



พระคาถาชินบัญชร ฉบับไทย

ข้าฯ ขอเชิญเสด็จ พระสรรเพชญ พุทธองค์
นราสภาทรง พิชิตมาร และเสนา
ยี่สิบแปดพระองค์ นายกสงฆ์ทรงสมญา
ตัณหังกรเป็นต้นมา ทรงดื่มแล้ว ซึ่งรสธรรม
จตุสัจอันประเสริฐ ทรงคุณเลิศ ดิลกล้ำ
ยอดบุญ พระคุณนำ ยิ่งเทพไท ไตรวิชชา
โปรดรับ ประทับทรง ณ ที่ตรง กระหม่อมข้า
ข้าฯพุทธเจ้าสา- ธุประฌม บังคมเชิญ
ขอให้พระพุทธะ สักกยะ พระจำเริญ
ประทับบนเศียรเทอญ ปราชญ์สรรเสริฐพระบารมี
ขอให้พระธรรมะ อริยะวิสุทธิ์ศรี
ประทับจักขุนทรีย์ ให้ข้ามีปัญญาญาณ
ขอให้พระสังฆะ วิสุทธะคุณาจารย์
สถิตประดิษฐาน อุระข้า อย่ารู้ไกล
ให้พระอนุรุทธิ์ บริสุทธิ์ อยู่หทัย
พระสารีบุตรไพ- โรจนัย ณ เบื้องขวา
เบื้องหลังพระโกณทัญ- ญะสถิต จิตตสา
เบื้องซ้ายพระโมคคัลลา- นะสถิต สถาพร
หูขวา พระอานนท์ ประชุมชน ประณมกร
พระราหุล อุดมพร สถิตร่วม จรัญญา
หูซ้ายพระกัสสป นิราศภพ กิตติมา
คู่กับพระมหา- นามสถิตย์ ประดิษฐาน
พระพุทธะโสภิต ผู้เรืองฤทธิ์ อุดมญาณ
จอมมุนี วีระหาญ ไตรวิชชา ประภากร
ดุจดวง พระอาทิตย์ แร่งร้อยฤทธิ์ พันแสงศร
สถิตเกศ อุดมกร ปัญฉิมภาค พิบูลพรรณ
พระกุมาระกัสสป ผู้เจนจบ วจีสัณห์
บ่อคุณคุณานันท์ สถิตโอษฐ์ อลังการ
ขอให้พระปุณณะ เถระพระอังคุลิมาล
พระอุบาลีศานต์ พระนันทะ พระสีวลี
บรรจบเป็นเบญจะ พระเถระ ผู้เรืองศรี
สถิตอยู่นลาตมี เสน่ห์ดี ไมตรีตาม
แปดสิบ พระสาวก มนต์สาธก ผู้เรืองนาม
เรืองเดช ทุกโมงยาม ด้วยลีลา ธิคุณคง
สถิตทั่วทุกส่วนกาย ทั้งน้อยใหญ่ประทับทรง
เป็นคุณจำเริญมง คลเลิศประเสริฐศรี
ขอเชิญพระปริตร อันศักดิ์สิทธิ์ในแดนตรี่
เมตตาและปรานี บริรักษ์ นิราศภัย
เบื้องหน้ารัตนสูตร ธรรมาวุธ อันเกรียงไกร
ทักษิณ อันฤๅชัย เมตตสูตร พระพุทธมนต์
ปัจฉิม ธชัคคสูตร พุทธาวุธ วิเศษล้น
บุดรมหามนต์ อังคุลิมา ละสูตรเสริม
ขันธโมพระปริตร ดังจักรกฤช ประสิทธิ์เฉลิม
อาฏานาฎสูตรเติม พระขรรค์เพ็ชรเผด็จมาร
เพดารกั้นมารอากาศ ให้ปลาส เกษมศาสตร์
อีกให้เป็นปราการ กำแพงแก้วกำขัตภัย
กำแพงแก้วเจ็ดชั้น ดำรงมั่น เดโชชัย
พระชินราช ประสาทให้ เป็นเกาะใหญ่ คุ้มครองตน
ด้วยเดช พระชินศรี เรืองฤทธิ์ มากเหลือล้น
กำจัดภัย ทุกแห่งหน ทั้งวิบัติ อุปัททวา
ทั้งภายนอกและภายใน เกิดเป็นภัย ไม่นำพา
เพียงลมร้าย พัดไปมา ไม่บีฑา อย่าอาวรณ์
เมื่อข้า สวดพระสูตร พระสัมพุทธบัญชร
สูงสุด พุทธพร ในพื้นเมธนีดล
กลางชินนะบัญชร คุณากร กิตติพล
หวังใดให้เป็นผล จากกุศลสาธยาย
ขอมวลมหาบุรุษ หน่อพระพุทธฤๅสาย
รักษา ข้าอย่าคลาย ตลอดกาล นิรันดร
อีกเวทมนตร์ ดลคาถา ที่มวลข้า ประฌมกร
เล่าเรียน เพียรว่าวอน อนุสรณ์ ตลอดมา
เป็นคุณ คุ้มครองดี อย่าให้มี ซึ่งโรคา
เป็นคุณ ช่วยรักษา สรรพภัย ไม่แผ้วพาน
อานุภาพ พระชินะ อุปัทวะ อย่ารู้หาญ
ห่างไกร ไม่ระราน ประสบงาน สวัสดี
อานุภาพ พระธรรมมะ ให้ชำนะ ความอัปรีย์
ห่างไกล คนใจผี กาลกิณี ไม่กล้ำกราย
อานุภาพ พระสังฆะ ให้ชำนะ อันตราย
ไม่เห็น คนใจร้าย ไม่มั่นหมาย มาราวี
อานุภาพ พระสัทธรรม ทุกเช้าค่ำ รักษาศรี
จำรัส จำเริญดี ร่มพระศรี ชินบัญชรฯ

พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขัน ตุ สัพ พะ ทา

ภาวนา 10 จบ


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ