2009-09-19

สิกขาบทวิภังค์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒

สิกขาบทวิภังค์


[๓๗๖] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ
อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์
อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม ผู้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า
ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระ-
*เสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อัน
สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่
กำเริบควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์
บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโทสะประ-
*ทุษร้ายแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปรปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนในอรรถนี้ ทรง-
*ประสงค์จิตที่ถูกราคะย้อมแล้ว
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องพูดหญิงผู้ใหญ่
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน
คำว่า ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย คือ ที่เรียกกันว่าความประพฤติล่วงเกิน
ที่ชื่อว่า มือ คือ หมายตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายเล็บ
ที่ชื่อว่า ช้องผม คือ เป็นผมล้วนก็มี แซมด้วยด้ายก็มี แซมด้วยดอกไม้ก็มี แซม
ด้วยเงินก็มี แซมด้วยทองก็มี แซมด้วยแก้วมุกดาก็มี แซมด้วยแก้วมณีก็มี
ที่ชื่อว่า อวัยวะ คือ เว้นมือและช้องผมเสีย นอกนั้นชื่อว่าอวัยวะ.
[๓๗๗] ที่ชื่อว่า ลูบคลำ คือ ถูก คลำ ลูบลง ลูบขึ้น ทับ อุ้ม ฉุด ผลัก กด
บีบ จับ ต้อง.
[๓๗๘] ที่ชื่อว่า ถูก คือเพียงถูกต้อง ที่ชื่อว่า คลำ คือจับเบาๆ ไปข้างโน้นข้างนี้
ที่ชื่อว่า ลูบลง คือลูบลงเบื้องล่าง ที่ชื่อว่า ลูบขึ้น คือลูบขึ้นเบื้องบน ที่ชื่อว่า ทับ คือกด
ข้างล่าง ที่ชื่อว่า อุ้ม คือยกขึ้นข้างบน ที่ชื่อว่า ฉุด คือรั้งมา ที่ชื่อว่า ผลัก คือผลักไป
ที่ชื่อว่า กด คือจับอวัยวะ กดลง ที่ชื่อว่า บีบ คือบีบกับวัตถุบางอย่าง ที่ชื่อว่า จับ คือ
จับเฉยๆ ที่ชื่อว่า ต้อง คือเพียงต้องตัว.
[๓๗๙] บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส เพื่ออาบัตินั้นได้ ชักเข้า
อาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะ
ฉะนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัติ
นิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=13224&Z=13260

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ