ปางรำพึง เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ ( อก ) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ประวัติความเป็นมาของปางรำพึง
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า ดังนี้
1. อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่สติปัญญาดี เมื่อฟังธรรมก็สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว เสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
2. วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตาม ฝึกฝนเพิ่มเติมจะเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เสมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
3. เนยยะ คือ พวกที่สติปัญญาน้อย เมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและ ฝึกฝนอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อในที่สุดก็จะสามารถเข้าใจได้ เสมือนดอกบัวใต้น้ำซึ่งจะโผล่ขึ้นเบ่งบานในวันหนึ่ง
4. ปทปรมะ คือ พวกไร้สติปัญญา แม้ได้ฟังธรรม ก็ไม่อาจเข้าใจ เปรียบเสมือนบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ไม่มีโอกาสเบ่งบาน
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ ก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายสำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า
ความเชื่อและคตินิยม
* เป็นพระประจำวันเกิดของคนเกิดวันศุกร์
* พระคาถาบูชา สวด 21 จบ
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภี
ปะริสานัญจะ ตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตัน ตัมภะณามะเหฯ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
No comments:
Post a Comment