อุปสมบทพิธี
ความหมายของคำว่า "บวช" โ ด ย : พระธรรมโกศาจารย์ ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
คำว่า "บวช" นี้ เราเอามาใช้ในภาษาไทย มาจากคำว่า "ปะวะชะ" ในภาษาบาลี แปลว่า งดเว้น ผู้ที่เป็นนักบวชก็คือ ผู้งดเว้น งดเว้นเรื่องอะไร ? งดเว้นจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบของจิตใจ ผู้ที่เป็นนักบวชนี้เขาเรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์ อันหมายถึง ความบริสุทธิ์ของจิตใจ
จุดมุ่งหมายของการบวช
เรื่องการบวชนี้ เป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ยุคก่อนที่พระพุทธเจ้าของเราเกิดเสียอีก ก็มีคนบวชอยู่แล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน นักบวชเหล่านี้ได้ออกไปอยู่ป่า อยู่อย่างมักน้อย สันโดษ นุ่งห่ม อย่างง่ายๆ กินอยู่อย่างง่ายๆ เพราะไม่ต้องการพอกพูนเนื้อหนังแต่ต้องการพอกพูนปัญญา จึงไม่สนใจในเรื่องการบำรุงรักษา ร่างกายสนใจแต่เรื่องการบำรุงรักษาจิตใจ คนประเภทนี้ออกบวชอยู่ป่าก็เพื่อการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับชีวิตจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ แล้วก็ได้เอามาสอนผู้อื่นได้รู้และได้ปฏิบัติกันต่อมา จนกระทั่งมีลูกศิษย์ลูกหาเกิดขึ้นมากมาย
ต่อมาศิษย์เหล่านั้นเป็นนักบวชสืบต่อจากอาจารย์ก็มี ไม่บวชแต่ออกมาอยู่บ้านก็มี แต่ถึงแม้จะ อยู่ที่บ้านก็อยู่อย่างผู้ประพฤติธรรม มีชีวิตที่เรียบร้อย ไม่วุ่นวาย ซึ่งทำให้เกิดความสุข เกิดความสงบขึ้นในชีวิตประจำวัน พวกนักบวชเหล่านี้ เขาบวชอย่างชนิดยอมเสียสละชีวิตและร่างกาย เพื่อความเป็นนักบวชอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่มากในประเทศอินเดียสมัยโบราณ
1) คุณสมบัติของผู้ที่จะบวช
2) การเตรียมตัวก่อนบวช
3) พิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)
4) พิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)
5) บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ
5.1 - ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง
5.2 - สามเณรต้องถือศีล ๑๐
5.3 - พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗
5.4 - ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ
6) คำขอบวชเป็นแม่ชี
7) อานิสงส์ของการบวช
8) วิธีการลาสิกขา
No comments:
Post a Comment