2008-11-27

พิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)

ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)
รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
*ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ

*หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก

พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้

อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสส(๓ จบ)

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ

(และกล่าว ๓ ครั้งว่า)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้)

อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง)

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง)
พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้

อะยันเต ปัตโต (นี้บาตรของเจ้า?)
(รับว่า) อามะ ภันเต (ขอรับ เจ้าข้า)
อะยัง สังฆาฏิ (นี้ผ้าทาบของเจ้า?)
(รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค (นี้ผ่าห่มของเจ้า?)
(รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก (นี้ผ้านุ่งของเจ้า?)
(รับว่า) อามะ ภันเต

จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้

พระจะถามว่า
ผู้บวชกล่าวรับว่า

กุฏฐัง (เธอเป็นโรคเรื้อนหรือไม่)
นัตถิ ภันเต (ไม่ ขอรับ)
คัณโฑ (เธอเป็นโรคฝีชนิดเป็นทั่วตัวหรือไม่)
นัตถิ ภันเต
กิลาโส (เธอเป็นโรคกลากหรือไม่)
นัตถิ ภันเต
โสโส (เธอเป็นโรคมองคร่อ หรือ หืด หรือไม่)
นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร (เธอเป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่)
นัตถิ ภันเต

มะนุสโสสิ๊ (เธอเป็นมนุษย์ ใช่ไหม)
อามะ ภันเต (ขอรับ เจ้าข้า)
ปุริโสสิ๊ (เธอเป็นผู้ชาย ใช่ไหม)
อามะ ภันเต
ภุชิสโสสิ๊ (เธอเป็นไทแก่ตัวเอง ใช่ไหม)
อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊ (เธอไม่เป็นหนี้ใคร ใช่ไหม)
อามะ ภันเต
นะสิ๊ ราชะภะโฏ (เธอไม่ใช่ข้าราชการที่ยังมีภาระต้องรับผิดชอบ ใช่ไหม)
อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ (บิดา มารดาของเธออนุญาต ใช่ไหม)
อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ (เธออายุครบ 20 ปี ใช่ไหม)
อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (เธอมีบาตรและจีวรครบ ใช่ไหม)
อามะ ภันเต

กินนาโมสิ (เธอชื่ออะไร)
อะหัง ภันเต ...*ชื่อพระใหม่ นาม(กระผมชื่อ....)
โก นามะ เต อุปัชฌาโย (พระอุปัชฌาย์เธอชื่ออะไร)
อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา... *ชื่อพระอุปัชฌาย์ นามะ (พระอุปัฌาย์กระผมชื่อ....)

*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวช และต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย

เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้

สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน

ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบ เป็นอันเสร็จพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)

ที่มา : ศาลาธรรม

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ