คำบูชาพระรัตนตรัย พร้อมคำแปล
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นแล้ว ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นไว้ตามสมควรแล้วอย่างไร,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาธิการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งลาย ตลอดกาลนานเทอญ
อะระหัง สัมมาสัมพุธโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน(กราบ),
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม(กราบ)
สุปะฎิปันโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
คำนมัสการพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธะสะ (นะโม 3 จบ)
(ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์นั้น ( 3 ครั้ง))
บทพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้
บทพระพุทธคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลกิเลสมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งนัยพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปพำเพ็ญบุญ
ข้าฯ ขอประณตน้อม ศิระเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดรฯ
(กราบ)
บทพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
บทพระธรรมคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาคร ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้ากับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิศดาร อันลึกโอฬาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข ปฏิบัติปฏิยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจคลอง ให้ล่วงลุปอง ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง ด้วยจิตและกายวาจาฯ
(กราบ)
บทพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
บทพระสังฆคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์ อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา- พกทรงคุณา- นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใดv จงดับและกลับเสื่อมสูญฯ
(กราบ)
ที่มา : ธรรมะไทย
No comments:
Post a Comment