2010-05-06

ประวัติพระราหู

พระราหูเป็นคนผิวดำร่างโตใหญ่ มักปากแบะในตาพอง ผมหยิก มีนิสสัยชอบกินของดิบสุกสพล่า ชอบของมึนเมาทุกชนิด มีนิสสัยคล้ายพระเสาร์ ชอบดนตรี ชอบเต้นรำ โกรธง่ายหายเร็ว ใจคอบึกบึน องอาจกล้าหาญ ชอบฆ่าฟัน ถ้ากลัวๆมาก ถ้ากล้าๆมาก ถ้าเกลียดๆจริง ให้โทษแรง ให้คุณแรง ไม่ข่มเหงผู้น้อย มีทรัพย์เก็บไว้ไม่ยืด มักคิดการใหญ่โต ดาวพระเคราะห์ทุกๆดวง ต้องเกรงใจพระราหู

ชาติเวรพระราหู
ในครั้งก่อนพระอาทิตย์เป็นครุธ พระหัสเป็นพระอินทร์ พระเสาร์เป็นนาค พระอังคารเป็นราชสี ได้ชวนพระราหูสร้างสระน้ำ พระราหูไม่สร้าง เทวดาทั้งสี่องค์สร้างสระเสร็จแล้ว ก็ชวนกันรักษาอยู่ พระหัสอยู่ที่เขาพระสุเมร พระเสาร์อยู่ที่มหาสมุทร์ พระอังคารอยู่ป่าหิมพานต์ พระอาทิตย์อยู่ที่เขาสัตพันธ์ อยู่มาวันหนึ่งพระอาทิตย์ไล่พระเสาร์มา พระเสาร์หนีไปขอช่วยพระราหู พระราหูก็ตวาดพระอาทิตย์และไล่พระอาทิตย์เสีย พระราหูไล่พระอาทิตย์จนเหนื่อย แล้วลงกินน้ำในสระ พระหัสก็เอาจักร์ขว้างพระราหูถูกกลางตัวขาด แต่ไม่ตาย ท่อนบนยังเป็นพระราหู ส่วนท่อนล่างเป็นพระเกตุ

ดังนั้น เมื่อพระราหูต้องพระอาทิตย์ จะเสียเงินทอง จะบาดเจ็บด้วยเสี้ยนหนาม จะเป็นความกับผู้ใหญ่ ห้ามกินสัตว์สองเท้าและสี่เท้า จะท้องเสีย ให้เกรงสัตรูทิศพายัพ
พระราหูต้องพระจันทร์ จะเสียทรัพย์ จะเกิดความ ลูกเมียจะพรัดกัน จะถอยยศถอยศักดิ์ จะเจ็บไข้
พระราหูต้องพระอังคาร ไฟจะไหมเรือน จะจากที่อยู่ จะเสียทรัพย์ ลุกเมียจะตายจากกัน
พระราหูต้องพระพุธ คนดำแดงท้องใหญ่จะเป็นสัตรู ไฟจะไหม้เรือน จะเสียเงินทอง สัตรูอยู่ทิศพายัพ
พระราหูต้องพระหัส คราวแรกจะได้ลาภเงินทอง แต่ภายหลังจะเสียเงินทอง ข้าทาสจะหนีหาย ลูกเมียจะตายจากกัน สัตรูอยู่ทิศพายัพและอาคเณย์
พระราหูต้องพระศุกร์ จะเสียทรัพย์ จะเกิดพะยาธในท้อง ญาติของตนจะตายจากกัน
พระราหูต้องพระเสาร์ ให้เกรงแต่ในสองวัน พ้นจากนั้นจะมีลาภเงินทองต่างๆ เพราะมิตร์สหายนำมาให้แต่ทิศพายัพ

พระราหูเสวยตัวเอง จะเกิดความเจ็บไข้ จะเจ็บท้อง ให้เกรงท่านจะโทษ ข้าทาสลูกเมียจะตายจากกัน จะเสียเงินทองให้เร่งระวังจงดี

ที่มา : เอกสารเก่า (ภาษาเขียนยึดของเก่า)

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ