2009-10-06

สิกขาบทวิภังค์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖

สิกขาบทวิภังค์


[๕๐๑] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง คือ ขอเองซึ่งคนก็ดี แรงงานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี
มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี หญ้ามุงกระต่ายก็ดี หญ้าปล้อง
ก็ดี หญ้าสามัญก็ดี ดินก็ดี
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะ
ภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ตาม
บทว่า สร้าง คือทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม
บทว่า อันหาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครๆ อื่น ที่เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์
ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม เป็นเจ้าของ
บทว่า เฉพาะตนเอง คือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
คำว่า พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้โดยยาว ๑๒ คืบ
ด้วยคืบสุคต นั้น คือ วัดนอกฝาผนัง
คำว่า โดยกว้างในร่วมใน ๗ คืบ นั้น คือ วัดร่วมในฝาผนัง
[๕๐๒] คำว่า พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ นั้น มีพระพุทธาธิบายไว้ว่าดังนี้
ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงให้แผ้วถางพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีนั้นเสียก่อน แล้วเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตรา-
*สงค์เฉวียงเบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่นกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง ท่าน
เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ถ้าสงฆ์ทั้งหมดจะอุตสาหะไปตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีได้ ก็พึงไปตรวจดูด้วยกันทั้งหมด ถ้าไม่
อุตสาหะ ในหมู่สงฆ์นั้น ภิกษุเหล่าใดฉลาดสามารถจะรู้ได้ว่า เป็นสถานมีผู้จองไว้หรือไม่ เป็น
สถานมีชานเดินได้รอบหรือไม่ สงฆ์พึงขอสมมติภิกษุเหล่านั้นไปแทนสงฆ์
วิธีสมมติ
ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาขอสมมติให้ภิกษุตรวจดูพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้
เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่ง
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี
ของภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้าง
กุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้าง
กุฎี สงฆ์สมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้
การสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมี
ชื่อนี้ อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
วิธีแสดงพื้นที่
[๕๐๓] ภิกษุทั้งหลายผู้อันสงฆ์สมมติแล้วเหล่านั้น พึงไป ณ ที่นั้นตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้าง
กุฎี พึงทราบว่าเป็นสถานมีผู้จองไว้ หรือเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ เป็นสถานมีชานเดินได้รอบ
หรือเป็นสถานไม่มีชานเดินได้รอบ ถ้าเป็นสถานมีผู้จองไว้ ทั้งไม่มีชานเดินได้รอบ พึงบอกว่า
อย่าสร้างลงในที่นี้ ถ้าเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ทั้งมีชานเดินได้รอบ พึงแจ้งแก่สงฆ์ว่า เป็นสถาน
ไม่มีผู้จองไว้ ทั้งมีชานเดินได้รอบ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉลียงบ่า
กราบเท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเองด้วยอาการขอเอาเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
นั้นขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาดผู้
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ
ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงแสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง
เธอขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การแสดงพื้น
ที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด พื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์แสดงแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
[๕๐๔] ที่ชื่อว่า อันมีผู้จองไว้ คือ เป็นที่อาศัยของมด เป็นที่อาศัยของปลวก เป็นที่
อาศัยของหนู เป็นที่อาศัยของงู เป็นที่อาศัยของแมลงป่อง เป็นที่อาศัยของตะขาบ เป็นที่อาศัย
ของช้าง เป็นที่อาศัยของม้า เป็นที่อาศัยของราชสีห์ เป็นที่อาศัยของเสือโคร่ง เป็นที่อาศัยของ
เสือเหลือง เป็นที่อาศัยของหมี เป็นที่อาศัยของสุนัขป่า ๑- เป็นที่อาศัยของสัตว์ดิรัจฉานบางเหล่า
เป็นสถานใกล้ที่นา เป็นสถานใกล้ที่ไร่ เป็นสถานใกล้ตะแลงแกง เป็นสถานใกล้ที่ทรมานนักโทษ
เป็นสถานใกล้สุสาน เป็นสถานใกล้ที่สวน เป็นสถานใกล้ที่หลวง เป็นสถานใกล้โรงช้าง เป็น
สถานใกล้โรงม้า เป็นสถานใกล้เรือนจำ เป็นสถานใกล้โรงสุรา เป็นสถานใกล้ที่สุนัขอาศัย
เป็นสถานใกล้ถนน เป็นสถานใกล้หนทางสี่แยก เป็นสถานใกล้ที่ชุมนุมชน หรือเป็นสถาน
ใกล้ทางที่เดินไปมา นี่ชื่อว่าสถานอันมีผู้จองไว้
[๕๐๕] ที่ชื่อว่า อันหาชานรอบมิได้ คือเกวียนที่เขาเทียมวัวแล้วตามปกติ ไม่สามารถ
จะเวียนไปได้ บันไดหรือพะองไม่สามารถจะทอดเวียนไปได้ โดยรอบ นี่ชื่อว่า สถานอันหาชาน
รอบมิได้
@๑. สุนัขป่าในทะเลทราย, เสือดาวก็ว่า.
[๕๐๖] ที่ชื่อว่า อันไม่มีผู้จองไว้ คือ ไม่เป็นที่อาศัยของมด ไม่เป็นที่อาศัยของปลวก
ไม่เป็นที่อาศัยของหนู ไม่เป็นที่อาศัยของงู ไม่เป็นที่อาศัยของแมลงป่อง ไม่เป็นที่อาศัยของตะขาบ
ไม่เป็นที่อาศัยของช้าง ไม่เป็นที่อาศัยของม้า ไม่เป็นที่อาศัยของราชสีห์ ไม่เป็นที่อาศัยของ
เสือโคร่ง ไม่เป็นที่อาศัยของเสือเหลือง ไม่เป็นที่อาศัยของหมี ไม่เป็นที่อาศัยของสุนัขป่า ไม่
เป็นที่อาศัยของสัตว์ดิรัจฉานบางเหล่า ไม่เป็นสถานใกล้ที่นา ไม่เป็นสถานใกล้ที่ไร่ ไม่เป็นสถาน
ใกล้ตะแลงแกง ไม่เป็นสถานใกล้ที่ทรมานนักโทษ ไม่เป็นสถานใกล้สุสาน ไม่เป็นสถานใกล้
ที่สวน ไม่เป็นสถานใกล้ที่หลวง ไม่เป็นสถานใกล้โรงช้าง ไม่เป็นสถานใกล้โรงม้า ไม่เป็น
สถานใกล้เรือนจำ ไม่เป็นสถานใกล้โรงสุรา ไม่เป็นสถานใกล้ที่สุนัขอาศัย ไม่เป็นสถานใกล้ถนน
ไม่เป็นสถานใกล้หนทางสี่แยก ไม่เป็นสถานใกล้ที่ชุมนุมชน หรือไม่เป็นสถานใกล้ทางที่เดิน
ไปมา นี่ชื่อว่า สถานอันไม่มีผู้จองไว้.
[๕๐๗] ที่ชื่อว่า อันมีชานรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวแล้วตามปกติสามารถจะเวียน
ไปได้ บันไดหรือพะองก็สามารถจะทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า สถานอันมีชานรอบ.
[๕๐๘] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง อธิบายว่า ขอเอง ซึ่งคนก็ดี แรงงานก็ดี โคก็ดี
เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี เป็นต้น
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะ
ภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ตาม
บทว่า สร้าง คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม
สองพากย์ว่า หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณ
ความว่า ไม่ขอให้สงฆ์แสดงสถานที่สร้างกุฎีด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาก็ตาม สร้างเองหรือใช้ให้
เขาสร้างให้เกินกำหนด แม้เพียงเส้นผมเดียว โดยส่วนยาวหรือโดยส่วนกว้างก็ตาม ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุกประโยคที่ทำ ยังอิฐอีกก้อนหนึ่งจะเสร็จต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้อนที่สุดเสร็จ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้นจึงตรัสเรียกว่า
สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=16376&Z=16468

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ