พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยานั่งสมาธิ มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ ( กระดูก ) และพระนหารุ ( เส้นเอ็น ) ปรากฏ
ความเป็นมาของปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
พระ บรมโพธิสัตว์ทรงศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ ๗ จากสำนักอาฬารดาบสและสมาบัติ ๘ จากสำนักอุทกดาบส อุทกดาบสได้ตั้งพระบรมโพธิสัตว์ไว้ในตำแหน่งอาจารย์เสมอด้วยตนเอง แต่พระบรมโพธิสัตว์เห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาออกจากสำนัก ทรงแสวงหาหนทาง ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจน ไปทั่วพระวรกาย จะลุกขึ้นก็เซล้มลงไปแทบสิ้นพระชนม์
การสร้างพระพุทธรูปลักษณะปางทุกรกิริยานี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเพียรที่ปฏิบัติได้ยากยิ่ง หาที่เปรียบไม่ได้
ที่มา : ธรรมะไทย
No comments:
Post a Comment