หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร
หลวงปุ่สงฆ์ หรือ หลวงพ่อสงฆ์ ท่านเป็นพระคณาจารย์ สมถวิปัสสนา ที่ชาวจังหวัดชุมพร และชาวกรุงเทพๆ ภูมิใจเป็น หนักหนา
หลวงปุ่สงฆ์ท่าน มีความเมตตาปรานีแก่ทุกๆคน ไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้บุคคลใดไปขอพรจากท่านแล้ว จะได้รับความสมหวังอย่างมั่นคง ด้วยทุกคนเชื่อว่า ท่านหลวงปุ่สงฆ์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งนัก
หลวงปุ่สงฆ์ ท่านเป็นคนชาวจังหวัดชุมพร โดยกำเนิด ท่านเกิดที่หมู่บ้านวิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร เมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓
บิดา ชื่อ นางแดง มารดาชื่อ นางนุ้ย มีอาชีพทำนา-ไร่สวน อายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดสวี อันเป็นวัดใกล้ๆบ้านเกิดท่าน
เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยุ่ ๒ ปี จึงได้ลาสึก ออกไปช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำงานท้องนาและไร่สวน
ครั้นอายุครบอุปสมบท ท่านได้มาฝากตัวแก่พระอุปัชฌาย์ ที่วัดสวี ขอบวชเป็น พระภิกษุสงฆ์ ได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า "จันทสโรภิกขุ"
หลังจากบวชเป็นพระแล้ว หลวงปุ่สงฆ์ได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดควน อ.สวี จ.ชุมพร ๑ พรรษา ในระหว่างพรรษา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม จนพอรู้แนวทางการ ดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์
ออกพรรษาแล้ว ท่านมีความสนใจทางสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แต่ในจังหวัดชุมพร ไม่มีพระอาจารย์สอนทางด้านนี้เลย ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ -อาจารย์ ออกจากจังหวัดชุมพร มุ่งหาพระอาจารย์สอนกรรมฐานในถิ่นอื่นๆ
โดยได้ออกเดินทางไปท่่ามกลางป่าเขาอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะท่าน ยังไม่รู้จักคำว่า " เดินธุดงค์" ในสมัยนั้น
แต่หลวงปุ่สงฆ์ มีความแน่ใจว่า การเดินทางอยุ่ในป่าดงพงไพรนี้ จะต้องพบกับ พระผู้ปฎิบัติบ้าง เพราะพระกรรมฐานชอบอยู่ป่าดงมากกว่า อยุ่วัดวาอาราม
หลวงปุ่สงฆ์ รอดพ้นจากอันตรายรอบด้าน เช่น สัตว์ป่า ไข้าป่าอันดุร้ายไปได้ ก็เพราะแรงใจที่มุ่งปฎิบัติธรรม กับพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อพบก็จะมอบตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรมด้วยเท่านั้น
หลวงปุ่สงฆ์ประสบความสมหวัง เมื่อได้ทราบว่า .... พระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือตอแซ เป็นพระอาจารย์ที่ทรงฌานสมาบัติสูงองค์หนึ่ง ในจังหวัดภูเก็ต ท่านจึงได้ไป ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรม ปฎิบัติพระกรรมฐาน อยุ่กับพระอาจารย์รอด ๒ พรรษา
หลวงปุ่สงฆ์ มีความพากเพียร อย่างคร่ำเคร่ง มีสมาธิแก่กล้า สามารถในทาง ปฎิบัติมากแล้ว ท่านพระอาจารย์รอด ได้ให้ออกเดินธุดงค์ไปอยุ่ป่าช้า ตามถ้ำผาป่าดง ต่อไป เพื่อความรุ้แจ้งในจิตใจ และจะได้ปรารภธรรมตามสติปัญญา
หลวงปุ่สงฆ์เดินธุดงคกรรมฐานไปจนถึงชายแดนด้านมาลายู จากนั้นท่านก็ ได้เดินธุดงค์ ย้อนกลับมาจนถึงจังหวัดเพชรบุรี
หลวงปุ่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลง ไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฎิบัติสมถกรรมฐานแล้ว เดินจิตเล่นฤทธิ์กันเสีย โดยส่วนมาก
สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน(จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่ หลวงปุ่สงฆ์ ก็ดี หลวงปุ่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยุ่ในปัจจุบันนี้ ท่านสามารถหัน เข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่น ในอำนาจจิต อำนาจฌานได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้
ต่อมาหลวงปุ่สงฆ์ ท่านเกิดสติปัญญา มองเห็นภัยในวัฎสงสาร ที่มันเคย แปรปรวน หมุนเวียน ไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไพร ทำจิต เร่งบำเพ็ญเพียร เพื่อความพ้นทุกข์
การเดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่ง แล้วไปในที่แห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเพื่อให้ถึงเร็วๆนั้น หาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหมือนการ เดินแบบปกติ หรือเดินจงกรมนั่นเอง
ท่าน เดินอย่างมีสติ .... คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรม หรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด
ท่านเดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของ จิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะทำความเพียร เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านได้อาศัยชีวิตอยุ่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคน ไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุข หรือทุกข์ ท่่านมุ่งปฎิบัติ ธรรม เพื่อความรู้ธรรม
เมื่อ รู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้น มาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรม เพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต
๗ ปี แห่งการทรมานกิเลส ภายในจิตใจของท่่าน ซึ่งไม่เคยออกจากป่าสู่เมือง เลย ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ
แต่สภาพสังขาร ดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวร สบง ขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่าเมืองชุมพร
คล้ายกับวาสนาท่านจะต้องมาอยุ่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จึงมีชาวบ้านป่า เดินตาม นกตัวหนึ่ง ที่ร้องเป็นภาษามนุษย์ว่า " หนักก็วางเสีย ! หนักก็วางเสีย " ชาวบ้านป่า เดินตามนก จนพบ หลวงปุ่สงฆ์ และได้นิมนต์มาอยู่วัดร้างแห่งนั้น
หลวงปุ่สงฆ์ จนฺทสโร ท่่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความอดทน ค้นคว้า สัจธรรม ความเป็นจริง ของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน
๑๐ พรรษา ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาต ท่านโคจรไปในหมุ่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้าง ตามอัตภาพ จนมีความ พอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนัก ได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ
ท่านจึงออกจากป่า สู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ท่านได้จำพรรษาก่อสร้างวัดร้างแห่งนั้น จนเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบัน โดยขนานนามว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร
หลวงปุ่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบองค์หนึ่ง ในจังหวัด ชุมพร บัดนี้ท่านได้งางแล้ว ซึ่งขันธ์อันหนักหน่วงของท่าน และได้ทิ้งรากฝากความดี งามให้แก่ชนรุ่นหลังระลึกถึง ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เท่านั้น ! ....
จาก เว็บไซด์ www.geocities.com
No comments:
Post a Comment