2009-04-12

ประวัติ นางกวัก

นางกวัก คือรูปปั้นที่ไว้กราบไว้บูชาเพื่อให้การค้าเจริญ มักวางไว้หน้าร้าน เพื่อเรียกลูกค้า
"นางกวัก" นับเป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก มีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวัก มือ หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงิน และจารึกอักขระขอม เป็นหัวใจพระสีวลี ผู้เป็นเอตทัคคะทางโชค ลาภคือ นะ ชา ลิ ติ เป็นต้น

เป็นที่กล่าวขานกันว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา และทำมาค้าขึ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย โดยเฉพาะในมวลหมู่ผู้มีอาชีพค้าขายด้วยเชื่อว่านามของ "นางกวัก" มี ความหมายในทางทำมาหากินคล่องเจริญก้าวหน้า ตามร้านค้าจึงพบเห็นรูปนางกวักบน หิ้งบูชา หรือแม้กระทั่งรถเข็นค้าขายในตะกร้าเก็บสตางค์ หรือมุมเล็กๆ ต้อง มีรูปนางกวักอยู่ด้วยเสมอ

นอกจากนี้แล้วนามของ"นางกวัก" มีนัยเป็นการ "กวัก" เรียกผู้คนมาอุดหนุนร้านค้า รูป"นางกวัก" จึงมีพระเกจิอาจารย์นิยมสร้างขึ้นมากมายหลายสำนัก

"การสร้างนางกวัก มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งเก่าและ ใหม่ ท่านที่ปรารถนาอยากจะได้นางกวักไว้บูชาเพื่อให้การค้าขายเจริญ รุ่งเรือง ก็ลองไปดูตามวัดวาอารามต่างๆ จะนิยมสร้างกันมาก ส่วนราคาถ้าเก่า หายากก็แพง ถ้าใหม่ก็ไม่แพง หรือบางท่านไปซื้อตามร้านเครื่องสังฆภัณฑ์ และ นำไปให้พระเกจิอาจารย์ที่นับถือ อธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณก็เหมือนกัน"

ประวัติและตำนานแม่นางกวัก

นางกวักชื่อจริงว่า สุภาวดี บิดาชื่อ สุจิตพราพหณ์ มารดาชื่อ สุมณฑา เกิดที่เมืองมัจฉิกาสัณฑ์ (อยู่ห่างไม่ไกลจากเมืองสาวัตถี) มีครอบครัวประกอบอาชีพทำมาค้าขาย ต่อมาสุจิตตพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ขยายกิจการซื้อเกวียนมา 1 เล่ม นำสินค้าไปเร่ขายในต่างถิ่น บางครั้งบุตรสาวขออนุญาตเดินทางไปด้วย เพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ระหว่างการค้าขาย

สุภาวดีได้มีโอกาสพบกับ "พระกัสสปเถระเจ้า" เป็นอริยสงฆ์แสดงธรรม หลังจากสุภาวดีฟังธรรมเทศนาอย่างตั้งใจแล้ว พระกัสสปเถระเจ้าได้ กำหนดจิตเป็นอำนาจจิตพระอรหันต์ ประสิทธิ์ประสาทพรให้สุภาวดีและครอบครัว โดยได้ตั้งกุศลจิตประสาทพรเช่นนี้ทุกครั้งที่สุภาวดีมีโอกาสไปฟังจนจบ อำลากลับ ต่อมา สุภาวดีได้เดินทางติดตามบิดาไปทำการค้า และมีโอกาสฟังธรรมพระอริยสงฆ์อีกท่านหนึ่ง นามว่า "พระสิวลีเถระเจ้า" สุภาวดีได้ฟังธรรมอย่างตั้งใจ สุภาวดีจึงมีความรู้แตกฉานในหลักธรรมต่างๆ เป็นอันมาก พระสิวลีเป็นผู้มีชีวิตอัศจรรย์กว่าพระสงฆ์อื่น คือ ท่านอยู่ในครรภ์มารดานานถึง 7 ปี 7 เดือน จึงคลอดออกมา พร้อมด้วยวาสนา บารมี ที่ติดกับวิญญาณธาตุของท่าน ท่านจึงเป็นผู้มีลาภสักการบูชามาหาท่านตลอด เมื่อถึงคราวจำเป็นและต้องการ ทุกครั้งที่สุภาวดีได้ฟังธรรมและลากลับ พระสิวลีเถระเจ้าได้กำหนดกุศลจิต ประสาทพรให้สุภาวดีและครอบครัว เช่นเดียวกัน จิตของสุภาวดีจึงได้รับประสาทพรจากพระอรหันต์ถึงสององค์ ส่งผลให้บิดาทำการค้าได้กำไรไม่เคยขาดทุน

นางได้รับพรว่า "ขอให้เจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง จากการค้าขายสินค้าต่างๆสมความปรารถนาเถิด"

บิดารู้ว่าสุภาวดีคือผู้ที่เป็นสิริมงคลที่แท้จริง เป็นที่ไหลมาแห่งทรัพย์สมบัติของครอบครัว ครอบครัวร่ำรวยขึ้นเป็นมหาเศรษฐีมีเงินทองและกองเกวียนสินค้ามากมาย เทียบได้กับธนัญชัยเศรษฐี บิดาของวิสาขาแห่งแคว้นโกศล บิดาของสุภาวดีได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้า ปฏิบัติธรรมด้วยความศรัทธา เมื่อนางสิ้นชีวิตแล้ว ชาวบ้านจึงปั้นรูปแม่นางสุภาวดีไว้บูชา ขอให้การค้ารุ่งเรือง และความเชื่อดังกล่าวนี้ ก็แพร่หลายเข้ามายังสุวรรณภูมิ จากการเผยแพร่ของพราหมณ์ และยังคงเป็นความเชื่อที่สืบมาจนถึงทุกวันนี้

อีกตำนานหนึ่งเป็นตำนานที่แต่งเพิ่มเติมจากเรื่องท้าวกกขนากใน รามเกียรติ์ของไทย ที่เป็นที่มาของตำนานหนึ่งของลพบุรี มีเรื่องราวว่า นางกวักเป็นลูกสาวคนเดียวของ "ปู่เจ้าเขาเขียวหรือท้าวพนัสบดี" ซึ่งเป็นเจ้าชั้นจาตุมหาราชิกา มีตำแหน่งเป็นพระพนัสบดีคือ เจ้าแห่งป่าเขาลำเนาไพรทั้งปวง ครั้งนั้นอสูรหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกับปู่เจ้าเขาเขียว ชื่อ "ท้าวอุณาราช" ถูกพระรามเอาศรต้นกกแผลงศรไปถูกทรวงอกแล้วตรึงร่างไปติดกับเขาพระสุเมรุ แล้วสาปว่า "ตราบใดที่บุตรของท้าวอุณาราชทอใยบัวเป็นจีวร เพื่อถวายแด่พระศรีอาริยเมตไตรยที่จะเสด็จมาตรัสรู้ จึงจะพ้นคำสาป" ท้าวอุณาราชจึงมีชื่อเรียกว่าท้าวกกขนากอีกชื่อหนึ่ง และนางนงประจันต์ บุตรสาวของท้าวกกขนากจึงต้องอยู่คอยปฏิบัติพระบิดาและพยายามทอจีวร ด้วยใยบัวเพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยเมตไตรยที่จะเสด็จมาตรัสรู้ในภาย หน้า เมื่อนางนงประจันต์มาคอยดูแล พระบิดาอยู่ที่เขาพระสุเมรุนั้น ฐานะความเป็นอยู่ของนางลำบากมาก ทำให้ปู่เจ้าเขาเขียวเกิดความสงสารจึงส่งนางกวักบุตรสาวมาอยู่เป็นเพื่อน ด้วยบุญฤทธิ์ของนางกวัก จึงได้บันดาลให้พ่อค้าวานิช และผู้คนทั้งหลายเกิดความเมตตาพากันเอาทรัพย์สินเงินทองและเครื่องอุปบริโภค มาให้นางประจันต์เป็นจำนวนมาก ทำให้ความเป็นอยู่ของนางสุขสบายขึ้น รูปปั้นนางกวัก จะเห็นว่าจะยกมือขึ้นกวักระดับเสมอปาก แปลว่ากินไม่หมด แต่ถ้ากวักต่ำลงมากว่าปาก จะแปลว่ากินไม่พอ

คาถาบูชาแม่นางกวัก (ดีทางด้านค้าขาย เมตตา มหานิยม)

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ สนุก พิเดีย (รูปนางกวัก จิตรกรรมฝีมือ อ. จักรพันธุ์ โปษยะกฤต ศิลปินแห่งชาติ)

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ