หลักการสำคัญของพุทธศาสนา
* (หลักจริยธรรม) ความกตัญญูกตเวที คือการรู้จักบุญคุญและตอบแทน อันเป็นสัญญลักษณ์ของคนดีทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกัน
* (หลักคุณธรรม) พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศลหรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น)
* (หลักศีลธรรม) หลักคำสอนสำคัญของศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ " การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์"
* (หลักปรมัตถธรรม) พุทธศาสนา สอน "อริยสัจ 4" หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ 1.ทุกข์ที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาและลักษณะของปัญหา 2,สมุทัยสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3,นิโรธความดับแห่งทุกข์ และ4,มรรควิถี ทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้ง อยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญโดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่
(หลักอภิปรัชญา) 1. ลักษณะของความทุกข์ ได้แก่ ไตรลักษณ์ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปตามกฎ ไตรลักษณ์ อันได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป) ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้) อนัตตา (ความไม่มีแก่นสารอะไรให้ถือเอาเป็นตัวตนของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง) และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์(ซึ่งมีในหลักคำสอนของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎแห่ง ธรรมชาติและปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า อันมี ๑.กฎแห่งสภาวะ หรือมีธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม และ ไฟ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆกลับไปกลับมา ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ๒. กฎไตรลักษณ์ และ ๓.กฎแห่งเหตุผล เช่น ทุกขลักษณ์ทำให้สิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่างแสงอาทิตย์ต้องวิ่งมาชนโลก โลก จักรวาล กาแล๊คซี่ต้องหมุน ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้มีกฎแห่งสมตา(ปรับสมดุล)เช่นเรานอนเฉยๆต้องขยับ หรือวิ่งมากๆต้องหยุด เช่นความร้อนย่อมต่องการสลายตัวไปที่เย็นกว่า ไฟฟ้าในเมฆพายุฝนที่มีมากทิ้งมาที่พื้นโลกจนเกิดฟ้าผ่า ที่ๆเป็นสุญญากาศย่อมดึงให้สิ่งที่มีอยู่เข้ามา ความทุกข์ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่นพืชที่ปลูกถี่ๆกันย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด หรือ อนิจจลักษณ์(ความไม่แน่นอน)ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน(ของแข็ง)เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ(ของเหลว)เปลี่ยนเป็นธาตุลม(แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ(แสง ความร้อน พลังงาน)และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักร(วัฏ ฏตา) โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ ความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช ไม่เหมือน พ่อแม่ของตนได้นิดหน่อยเพราะกฎแห่งเหตุผลทำให้ลูกต้องมาจากปัจจัยพ่อแม่ของ ตน เช่นหมูที่เขี้ยวยาวกว่าจะเอาตัวรอดในสถานที่นั้นๆได้ดีกว่า นานๆ เข้าตัวที่เขี้ยวยาวกว่าพ่อแม่ของตนรอดมากๆเข้าก็ทำให้หมูป่าในปัจจุบัน เขี้ยวยาวขึ้น อนัตตลักษณ์(สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอยู่เองโดยไม่เกี่ยวเนี่ยวกับใครมีตัวตน เพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น เช่น ต้นไม้ย่อมอาศัยแสง ดิน น้ำ แร่ธาตุ ราก ใบ กิ่ง แก่น ลำต้น อากาศ ทำให้ดำรงอยู่ได้) สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกันทำให้เกิดการผสมผสาน ทำให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆน้อยและเพิ่มขึ้นซับ ซ้อนขึ้น เมื่อสิ่งต่างมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆทำให้เกิดกฎแห่งหน้าที่(ชีวิตา) เช่น ตับย่อมทำงานของตับ ไม่ได้ทำงานเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่ทำหน้าที่ของตน ร่างกายของย่อมแตกสลายไปราวกับอากาศธาตุ สรุป กฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ทำให้มีการสร้าง ดำรงรักษาอยู่ และทำลายไปของทุกสรรพสิ่ง ทุกขลักษณ์ทำให้สิ่งทั้งปวงอยู่นิ่งมิได้ อนิจจลักษณ์เปลี่ยนแปลงธาตุต่าง อนัตตลักษณ์ทำให้เกี่ยวเนื่องผสมผสานกันทำให้ซัยซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อย่อกฎทั้ง๓เหลือเพียงทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป(มีเพียงการสั่นสะเทือนของสสารอวินิพโภครูป๘)
(หลักศรัทธา) 2. เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท พุทธศาสนา สอนว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากสิ่งใดดลบันดาล หากแต่มีรากเหง้ามาจากความไม่รู้หรือ อวิชชาทำให้กระบวนการต่างๆไม่ขาดตอน เมื่อมีการปรุงแต่งของเจตสิกอันเป็นนามธาตุที่วิวัฒนาการตามกฎไตรลักษณ์และเหตุผลจนกลายเป็นจิต(ธรรมธาตุ๗)ตามแนวมหาปัฏฐาน จนเกิดกระบวนการทางวิญญาณ(รังสิโยธาตุ ธาตุแสง)ต่างๆเกิดมีธาตุที่รู้แสง(วิญญาณ)ดูดซับแสง(สัญญา)ควบคุมแสง(มโน)ตรวจค้นแสง(สังขาร)จิตตะ(อัสนีธาตุ)ประสานกับรูปขันธ์ของ ชีวิตินทรีย์ (เช่นไวรัส แบคทีเลีย ต้นไม้ที่เป็นไปตามกฎชีวิตา)ทำให้เหตุผลของรูปธาตุเป็นไปตามเหตุผลของนาม ธาตุด้วย(จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว)ทำให้รูปขันธ์ที่เป็นชีวิตนทรีพัตนา มีอายตนะทั้ง 6 (1)เมื่ออายตนะกระทบกับสรรพสิ่งที่มากระทบ(2)จนเกิดความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง (3)เมื่อได้สุขมาเสพก็ติดใจ (4)อยากเสพอีก ทำให้เกิดความทะยานอยาก(ตัณหา) ในสิ่งต่างๆ เมื่อประสบสิ่งไม่ชอบใจ พลัดพรากจากสิ่งที่ชอบใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น(5)จึงเกิดการแสวงหาความสุขมาเสพ(6) จนเกิดการสะสม (7)นำมาซึ่งความตะหนี่ (8)หวงแหน (9)จนในที่สุดก็ออกมาปกป้องแย่งชิงจนเกิดการสร้างกรรม และยึดว่าสิ่งนั้นๆเป็นตัวกู(อหังการ)ของกู (มมังการ)(เป็นปัจจยการ๙)ทำให้มีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)เมื่อมีอุปาทานว่าเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ เช่น คนตาบอดแต่เกิดเมื่อมองเห็นภาพตอนโตย่อมต้องอาศัยอุปาทานว่าภาพที่เห็นเป็น สิ่งนั้นสิ่งนี้จนสร้างภพขึ้นในใจ สสารทำให้เกิดเวลาและระยะทาง(ทฤษฎีสัมพันธภาพ) ถ้าไม่มีสสารก็ไม่มีเวลาและระยะทาง(เช่นนอกเอกภพย่อมไม่มีสถานที่ใดๆและไม่ มีเวลา)เมื่อนามธาตุ(จิตเจตสิกและเหตุผลของนามธาตุ(กฎแห่งกรรม))ที่อยู่นอก เหนือเวลาและภพแต่มาติดในเวลาและภพเพราะความยึดติดในสสารของจิต กรรมที่สร้างเป็นเหตุให้ต้องรับผลแห่งกรรม(หรือวิบากกรรม)ตามกฎแห่งกรรม ต่อเนื่องกันไป ตามหลักปฏิจจสมุปบาทสู่การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิทั้ง31ภูมิ (มิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุดไปจนถึงสุขสบายที่สุด)ในโลกธาตุที่เหมาะสมในเวลานั้นที่สมควรแก่กรรม นี้เรียกว่า สังสารวัฏ ตาม กฎแห่งกรรม - กฎแห่งกรรมนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดการเกิดภพชาติความเป็นไปของแต่ละดวงจิตในสังสารวัฏจนเป็นเหตุปัจจัยให้ประพบเจอความทุกข์ความสุข ปรารถนาหนีทุกข์ หรือแสวงหาความสุขจนสร้าง(กรรม คือการกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาสั่งการโดยจิตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าเป็นการกระทำที่ดี (บุญ/กุศล) หรือไม่ดี (บาป/อกุศล) หรือกลางๆ อันทำให้มีผลของการกระทำตามมา ในทางพุทธศาสนาเชื่อว่าผลของการกระทำจะไม่สูญหายไปไหน แต่รอเวลาที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการกระทำนั้นๆ สะท้อนกลับมาหาผู้กระทำเสมอ โดยกรรมในอดีตที่จะส่งผลสามารถบรรเทาเบาบางลงได้ถ้ามีสติปัญญารักษาตัวทำ กรรมในปัจจุบันที่ถูกต้องเหมาะสม) กล่าวโดยย่อว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต่างมีเหตุให้เกิด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้นตาม เมื่อเหตุนั้นไม่มีอีกแล้วผลก็ดับไป สำหรับการเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงผิดในสิ่งสมมุติต่างๆซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย เมื่อจิตยังมีอวิชชาสัตว์โลกย่อมเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด จนกว่าจะทำลายที่ต้นเหตุคืออวิชชาลงได้
(เป้าหมายสูงสุด) 3. ความดับทุกข์ (นิโรธ) คือ นิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา หรือ แก่นของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน หรือ วิราคะความหลุดพ้นจากกิเลสของจิต วิโมกข์พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ อนาลโย ไม่มีความอาลัย ปฏินิสสัคคายะการปล่อยวาง วิมุตติ การไม่ปรุงแต่ง อตัมมยตา(กิริยาอารมณ์ว่า กูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย)และสุญญตา ความว่างเป็นความสุขสูงสุด เนื่องจากธรรมดาของสัตว์โลกมีปกติทำความชั่วมากโดยบริสุทธิใจในความเห็นแก่ ตัว ทำดีน้อยซึ่งไม่บริสุทธิใจซ้ำหวังผลตอบแทนจึงมีปกติรับทุกข์มากกว่าสุข ดังนั้นถ้าเป็นผู้มีปัญญาหรือเป็นพ่อค้าที่ฉลาดยอมรู้ว่าขาดทุนมากกว่าได้ กำไร และสุขที่ได้เป็นเพียงมายา ย่อมปรารถนาในพระนิพพาน เมื่อขันธ์5แตกสลาย เจตสิกที่ประกอบกันเป็นจิตก็แตกสลายตามเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยจะประกอบกันเป็นจิต กรรมย่อมไม่อาจให้ผลได้อีก(อโหสิกรรม)เหลือเพียงแต่พระคุณความดีเมื่อมีผู้ บูชาย่อมส่งผลกรรมดีให้แก่ผู้บูชาเหมือนคนตีกลอง กลองไม่รับรู้เสียง แต่ผู้ตีได้รับอานิสงค์เสียงจากกลอง
(หลักการดำเนินชีวิต) 4. วิถีทางดับทุกข์ คือ มัชฌิมปฏิปทาทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว คือ การฝึกสติ เป็นวิธีฝึกฝนจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ โดยการปฏิบัติหน้าที่ทุกชนิดอย่างมีสติด้วยจิตว่างตามครรลองแห่งธรรมชาติ จนบรรลุญานโดยการดำเนินตามเส้นทางอริยมรรคโดย ยึดทางสายกลาง การดำเนินทางสายกลาง(ที่ไม่ใช่ทางสายกลวง คือสักแต่ว่ากลางโดยไม่มีวิธีการที่แน่ชัด โดยทางพระพุทธศาสนากำหนดวิธีการที่ชัดเจนคือหลักมรรค 8) เมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนของการบำเพ็ญเพียรฝึกฝนทางจิต คือ
1. ศีล (ฝึกกายและวาจาให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงการฝืนจิตใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำด้วยการเลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียง)
2. สมาธิ (ฝึกความตั้งใจมั่นจนเกิดความสงบ(สมถะ) และทำสติให้รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง)(วิปัสสนา)ด้วยความพยายาม
3. ปัญญา (ให้จิตพิจารณาธรรมชาติจนรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง(ตถตา)และตื่นจากมายาที่หลอกลวงจิตเดิมแท้(ฐิติภูตัง))
ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
No comments:
Post a Comment