2008-12-22

กะระณียะเมตตะสูตร

กะระณียะเมตตะสูตร

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
พึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

ที่มา : www.geocities.com/buddhamantra


เรื่องมีว่า สมัยหนึ่งจวนเข้าพรรษา ภิกษุจำนวนหนึ่งกราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อไปอยู่จำพรรษาในป่าลึกแห่งหนึ่ง เหล่ารุกขเทวดาคิดว่าพระคุณเจ้าคงพักชั่วคราว ไม่กี่วันก็จะไป จึงพากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์แต่ เมื่อรู้ว่าพระคุณเจ้าจะอยู่ที่ป่านี้ตลอดพรรษา จึงปรึกษากันว่าพวกเราเห็นจะต้อง"ไล่" พระท่านไป ไม่เช่นนั้นจะลำบากมากที่จะต้องมาอยู่บนพื้นดินอย่างนี้จึง พร้อมใจกันหลอกหลอนภิกษุที่ไปนั่งกรรมฐานอยู่ใต้ต้นไม้บ้าง ในถ้ำบ้าง จนท่านอยู่ไม่เป็นสุข พระก็กลัวผี ว่าอย่างนั้นเถอะ จึงตกลงกันกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ

พระ พุทธองค์ตรัสว่า "พวกเธอมิได้เอาอาวุธติดตัวไปด้วย จึงถูกผีหลอกหลอน" เมื่อกราบทูลถามว่า อาวุธชนิดไหน พระองค์ก็ตรัสว่า อาวุธคือความ เมตตา ว่าแล้วก็ทรง สวดกรณียเมตตสูตร ให้ฟัง แล้ว มีพุทธบัญชาให้กลับไปยังป่านั้นอีก และให้สวดทันทีที่เดินเข้าป่า และสวดทุกวันภิกษุเหล่านั้นก็ทำตามพุทธโอวาท บรรดาผีสางคางแดงทั้งหลายได้ยินบทสวด ก็มีจิตใจอ่อนโยน รักใคร่ในพระสงฆ์ ไม่หลอกหลอน ทำให้ท่านสามารถอยู่ในป่าได้อย่างผาสุก พระภิกษุได้สัปปายะ เจิรญธรรมสำเร็จอรหันตผลถ้วนทั่วกัน

เพราะเหตุว่าเนื้อหาของบทสวดเป็นการแผ่เมตตาความรัก ปรารถนาดีแก่เหล่าเทวดาในป่า และแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งท่านก็จะมีไมตรีจิตตอบ และถวายการอารักขาให้ผาสุกกัน จึงกลายเป็นธรรมเนียมว่าเมื่อผ่านศาลเจ้าเทพารักษ์หรือไม้วนปติ ที่มีชนนับถือพึงให้ภิกษุเจริญสามีจิกรรมเจริญเมตากรียสูตร…บ้างเรียกมนต์ ขับผี

ปัจจุบันนำไปสวดรวมกับเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เรารับฟังเนืองๆแต่ไม่เข้าใจความหมาย บทนี้ใช้ได้ดีทีเดียว เวลาไปนอนป่าหรือที่ไม่คุ้นชินทำให้นอนหลับง่ายและทำให้จิตสงบได้

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ