เมตตคูมาณพปัญหาที่ ๔
ข้าพเจ้าขอทูลถาม ขอพระองค์จงตรัสบอกข้อความที่จะทูลถามนั้นแก่ข้าพระเจ้า ข้าพระเจ้าทราบว่า พระองค์ถึงที่สุดจบไตรเพท มีจิตอันได้อบรมดีแล้ว ทุกข์ในโลกหลายประการ ไม่ใช่แต่อย่างเดียวนี้ มีมาแล้วแต่อะไร ?
พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราจะบอกแก่ท่านตามรู้เห็น ทุกข์ในโลกนี้ มีอุปธิคือ กรรม และกิเลสเป็นเหตุ ล้วนเกิดมาก่อนแต่อุปธิ ผู้ใดเป็นคนเขลา ไม่รู้แล้วทำอุปธินั้นให้เกิดขึ้น ผู้นั้นย่อมถึงทุกข์เนือง ๆ เหตุนั้นเมื่อรู้เห็นว่า อุปธิเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ อยากกระทำให้เกิดมี
เมตตคูมาณพ : ข้าพระเจ้าขอทูลถามข้ออื่นอีก อย่างไรผู้มีปัญญาจึงข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่ คือ ชาติ ชรา และโศก พิไรรำพันเสียได้ ? ขอพระองค์จงทรงทรงแก้ข้อนั้นประทานแก่ข้าพระเจ้า
พระศาสดา : เราจักแสดงธรรมที่จะพึงเห็นแจ้งด้วยตนเองในอัตภาพนี้ ไม่ต้องพิศวงตามคำของผู้อื่นว่า คืออย่างนี้ ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักเป็นผู้มีสติดำเนินข้ามความอยาก อันให้ติดอยู่ในโลกเสียได้แก่ท่าน
เมตตคูมาณพ : ข้าพระเจ้ายินดีธรรมที่สูงสุดนั้นเป็นอย่างยิ่ง
พระศาสดา : ท่านรู้อย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้องบน (คือ อนาคต) ในส่วนเบื้องต่ำ (คือ อดีต) ในส่วนท่ามกลาง (คือปัจจุบัน) จงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นในส่วนเหล่านั้นเสีย วิญญาณเองท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติไม่เลินเล่อ ได้ทราบแล้ว ละความถือมั่นว่าของเราได้สียแล้ว จักละทุกข์คือ ชาติ ชรา และโศกพิไรรำพันในโลกนี้ได้
เมตตคูมาณพ : ธรรมใดอันไม่มีอุปธิ พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว พระองค์คงจะละทุกข์ได้แน่แล้ว เพราะว่าพระองค์ ด้วยตั้งใจจะให้ทรงสั่งสอน ข้าพระเจ้าเป็นนิตย์ไม่หยุดหย่อนเหมือนอย่างนั้นบ้าง
พระศาสดา : ท่านรู้ว่าผู้ใดเป็นพราหมณ์ ถึงที่สุดจบไตรเพท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามล่วงเหตุแห่งทุกข์ ดุจห้วงทะเลอันใหญ่นี้ได้แน่แล้ว ครั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นคนไม่มีกิเลสอันตรึงจิต สิ้นความสงสัย ผู้นั้นครั้นรู้แล้วถึงที่สุด จบไตรเพทในศาสนานี้ ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพน้อยภพใหญ่เสียได้แล้ว เป็นคนมีความอยากสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต หาความอยากทะเยอทะยานมิได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นแล ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว
ที่มา : หอมรดกไทย
พระศาสดาเทศนาจบ เมตตคูมาณพ ได้บรรลุอรหันต์ เป็นพระเมตตคูเถระ และเป็น อสีติมหาสาวก คือ พระสาวกสำคัญ 80 รูป ของพระพุทธเจ้า
อ่าน ประวัติพระเมตตคูเถระ เพิ่มเติม
No comments:
Post a Comment