2009-04-20

หลวงพ่อแช่ม สังฆปาโมกข์

ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง

สังฆปาโมกข์ คือ เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ จากบทบาทผู้นำของหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในการมีส่วนต่อสู้กับพวกอั้งยี่ จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ให้มีตำแหน่งเป็น สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดสำหรับพระภิกษุในสมัยนั้น

สำหรับความหมายตำแหน่งสังฆปาโมกข์นั้น มีการกล่าวว่าในประวัติการแต่งตั้งพระสังฆราช หมายถึง หัวหน้าสงฆ์ เป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ที่มาจาก แบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทย เริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีการพัฒนาเพิ่มเติมใน สมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยมาตามลำดับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้

สกลสังฆปรินายก ได้แก่สมเด็จพระสังฆราช
มหาสังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะใหญ่
สังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะรอง
มหาสังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะมณฑล
สังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ
สังฆวาห ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามพระบรมราชวงค์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น พระราชวงค์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร ๕ ชั้น

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ว่า ในกรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนาม สมเด็จพระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ ๔ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูล ให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป

เป็นที่สังเกตุว่า พัดยศของหลวงพ่อแช่มนั้น มีลักษณะแตกต่างจากพัดยศ สำหรับพระครูโดยปกติทั่วไป ซึ่งพัดยศสำหรับหลวงพ่อแช่มนั้น เป็นพัดยศสำหรับพระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งพระราชาคณะและสังฆปาโมกข์ พระครูสังฆปาโมกข์ เป็นพัดยศแบบเก่า สักษณะเป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีแดงสลับม่วง แนวตรงกลางปักดิ้นทอง แบบปักหักทองขวาง ลายรักร้อย ใจกลางเป็นหน้าราหู ขอบนอกลายกลีบกระจังสีแดง ปักดิ้นเป็นใบเทศ ด้ามงากลึง

รูปแบบของพัดยศแบบต่างๆ

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ