2009-06-09

พระวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า

ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ พระวิหารต่าง ๆ ซึ่งพอจะประมวลไว้ได้ดังนี้

๑.กูฏาคาร เป็นพระอารามที่ประทับในป่ามหาวัน เป็นป่าใหญ่ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี

๒. โฆสิตาราม เป็นชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ ๙ ภายหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระอารามแห่งนี้ ในบางคัมภีร์ระบุว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับที่กรุงโกสัมพีทรงพำนักที่ โฆสการาม อันเป็นอารามที่โฆสกเศรษฐีสร้างถวาย

๓.จันทนศาลา เป็นศาลาไม้จันทน์แดง ในมกุฬการาม แคว้นสุนาปรันตะ พระมหาสาวกปุณณสุนาปรันตะ ซึ่งจำพรรษาที่วัดมกุฬการาม ได้แนะนำให้น้องชายของท่านและพ่อค้ารวม ๕๐๐ คน แบ่งไม้จันทร์แดงที่มีค่าสูงสร้างถวายพระพุทธเจ้า แล้วทูลอาราธนาเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะ พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝังแม่น้ำนัมมทาและที่ภูเขาสัจ จพันธ์ อันนับว่าเป็นการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท

๔.ชีวกัมพวัน หมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำประองค์พระพุทธเจ้า และประจำพระภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นมหาอุบาสกสำคัญได้รับ ยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง ในกาลนั้น พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหารพระนครราชคฤห์ หมอชีวกเห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในอัมพวัน คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก) อยู่ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

๕.เชตวันมหาวิหาร เป็นมหาวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ตั้งอยู่ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศลเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษานานที่สุดใน ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ ชื่อเชตวัน ได้จากพระนามของเจ้าชายเชตะ ซึ่งเป็นพระญาติสนิทของของพระพุทธเจ้า เสนทิราชาผู้ครองแคว้นโกศล สำหรับประวัติของมหาวิหารเชตวันมีดังนี้

มหาเศรษฐีแห่งนครสาวัจถี ตระกูลสุทัตตะ นามอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพ่อค้าเดินทางไปมาระหว่างนครราชคฤห์กับนครสาวัตถีคราวหนึ่งได้ฟังธรรม ของพระพุทธเจ้าที่นครราชคฤห์ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ นครสาวัตถี

อนาถบิณฑิกเศรษฐีกลับนครสาวัตถีแสวงหาที่ดินแปลงใหญ่ได้แปลงหนึ่ง ใกล้ตัวเมืองเป็นที่เหมาะแก่การโคจร และเป็นที่ตั้งแห่งความสงบได้ โดยทราบว่าเป็นสมบัติของเจ้าชายเชตะจึงขอซื้อ เจ้าชายอ้างว่าจะสงวนไว้เป็นที่เที่ยวเล่นไม่ยอมขาย เศรษฐี เฝ้าอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่า เจ้าชายรำคาญแสร้งว่าต้องเอาเหรียญทองมาเกลี่ยเรียงให้เต็มแปลงก็จะขายให้

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ยอมตามด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าสั่งคนใช้ให้ขนเหรียญ ทองคำมาปูจเต็มแปลง เจ้าชายเชตะกลับเห็นใจรับสั่งว่า ขอร่วมศรัทธาในพระพุทธเจ้าด้วย จึงขอลดราคาลงไปเพียงครึ่งเดียว ให้เศรษฐีนำเหรีญทองคำกลับไปเสียครึ่งหนึ่ง ขอร่วมบุญด้วยอีกครึ่งหนึ่ง

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กับเจ้าชายเชตะร่วมกันบัญชางาน ให้หักร้างถางที่ทำเป็นอุทยานใหญ่จนเป็นที่รื่นรมย์แล้ว ให้สร้างมหาวิหาร ๗ ชั้นมีกำแพงและคูเป็นขอบเขต ภายในบริเวณปันเป็นส่วนสัด มีคันธกุฎี (แปลว่า กุฎีอบกลิ่มหอม เป็นชื่อเรียกพระกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้า) มีที่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ มีที่เจริญธรรม ที่แสดงธรรม ที่จงกรมที่อาบ ที่ฉันครบถ้วนควรแก่สมณบริโภค อนาถนิณฑิกเศรษฐีสิ้นทรัพย์ไปในการณ์นี้ ๓๖ โกฎิกหาปณะ (โกฏิ = สิบล้าน กหาปณะ = ๔ บาท)

จากจดหมายเหตุของหลวงจีนฟาเหียน สมณทูตจีน เล่าเรื่องซากปรักพังของมหาวิหารเชตวัน เมื่อประมาณพุทธศักราช ๙๔๒ ไว้ดังนี้

"ออกจากบริเวณเมืองสาวัตถีไปทางประตูทิศใต้ เดินไปประมาณ ๒,๐๐๐ ก้าว สู่ทางตะวันออกของถนนใหญ่ พบวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซากที่ยังเหลืออยู่คือ ฐานปะรำ ๓ ฐาน หลัก ๒ หลักที่หลักมีสลัดรูปธรรมจักรด้านหนึ่งและรูปโคอีกด้านหนึ่ง มีที่ขังน้ำใช้น้ำฉันของพระภิกษุยังเหลืออยู่ ในที่เก็บน้ำยังมีน้ำใสสะอาดเต็มเปี่ยม มีไม้เป็นพุ่มเป็นกอ แต่ละพุ่มแต่ละกอมีดอกออกใบเขียวสดขึ้นอยู่โดยรอย ที่ใกล้วิหารหลังนี้ มีซากวิหารอีกหลักหนึ่ง เรียกว่า วิหารตถาคต"

"วิหารคถาคต มองจากซากก็รู้ว่า แต่เดิมมามี ๗ ชั้น บรรดาราชาอนุราชา และประชาชน พากันมากกราบไหว้ ทำการสักการะตลอดกลางคืนกลางวัน"

"ทางทิศตะวันออกเฉียวเหนือขอวิหารคถาคต ไกลออกไป ๖-๗ สี่พบวิหารอีกหลังหนึ่ง (บุพพาราม) ซึ่งมหาอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดาสร้างถวายพระพุทธเจ้า เมืองสาวัตถีนี้มีประตูใหญ่เพียง ๒ ประตูคือประตูทางทิศตะวันออกและประตูทางเหนือ มีอุทยานใหญ่แห่ง หนึ่งกว้างขวาง อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้สละทรัพย์สร้างถายพระพุทธเจ้ามีวิหารใหญ่ตั้งอยู่ ตรงกลาง ณ สถานที่นี้เองเป็นที่ประทับถาวรของพระพุทธเจ้าเพื่อทรงแสดงธรรม ยังสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นภัย ณ สถานที่ใดอันเป็นที่เคยประทับของพระพุทธเจ้าก็ดี เคยเป็นทีแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าก็ดี สถานที่นั้นมีเครื่องหมายไว้ให้เห็นหมด แม้สถานที่ของนางจิญจมาณวิกา (รับใช้พระเทวทัตมากล่าวตู่พระพุทธเจ้า) ก็มีเครื่องหมายแสดงไว้เหมือนกัน"

ท่านเทวปริยวาลิสิงหะ เลขาธิการสมาคมมหาโพธิอ้างหนังสือชื่อ ปูชาสัลลิยะ อันเป็นวรรณคดีของลังกา เขียนเล่าว่า

"แม้พระมหาวิหารเชตวันจะเป็นที่ยังความสะดวกและความสงบให้เกิดได้ ยิ่งกว่าสถานที่ใดในชมพูทวีปก็ตาม แต่พระพุทธเจ้าหาได้ประทับจำพรรษาตลอดปีไม่ แต่ละปีพระพุทธเจ้าประทับเพียงปีละ 3 เดือนในฤดูพรรษา ส่วนอีก ๙ เดือนนอกพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกออกไปแสดงธรรมในคามนิคมอื่น"

พระมหาวิหารเชตวันมีชื่อมากในตำนานพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ ถึง ๒๔ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่ทรงแสดงที่มหาวิหารแห่งนี้ คัมภีร์พุทธวงศ์ และเอกนิบาต อังคุตรนิกาย บรรยายว่า พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษา ที่มหาวิหารแห่งนี้ เพียง ๑๙ ฤดูฝน เวลาที่เหลือจากนั้น เปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพามหาวิหารเชตวัน มีอธิบายอีกในหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า ตลอด ๒๔ ฤดูฝน

๖.นิโครธาราม เป็นพระอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ นครหลวงของแคว้นสักกะ ในพรรษาที่ ๑๕ หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธาราม

๗.บุพพาราม เป็นพระวิหารที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิหารเชตวันทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล นางวิสาขามิคารมารดา มหาอุบาสิกาผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวงเป็นผู้สร้างถวาย โดยขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่ามหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องอาภรณ์งามวิจิตประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการมีค่ามากถึง ๙๐ ล้านกหาปนะ และได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้มีบุญในสมัยพุทธกาลมีเพียง ๓ คือ ของนางวิสาขา ๑ ของเศรษฐีธิดา ภรรยาท่านเทวทานิยสาระ ๑ และของนางวิสาขานำมาสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี โดยพระพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายเป็นนวกัมมาธฏฐายี คือเป็นผู้อำนวนการก่อสร้างวิหารบุพพาราม

๘. พระเวฬุวัน เป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธเป็นสถานที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประจำพรรษาที่ ๒-๓-๔ และพรรษที่ ๑๗ กับ ๒๐ ภายหลังจากตรัสรู้พระเวฬุวันวิหารนับเป็นอารามในระยะกาลประดิษฐานพระศาสนา ระยะแรกเริ่ม

๙.อัคคาฬวเจดีย์วิหาร อยู่ในเมืองอาฬวี ในพรรษาที่ ๑๖ ภายหลังตรัสรู้ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วิหารแห่งนี้

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ