2009-05-11

คำที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า

คำที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า มีหลายคำดังจะกล่าวต่อไปนี้

* พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

* อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย

* สิทธัตถะ หมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ

* พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่

* ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย 8 อย่างคือ
1. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น
2. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
3. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ
4. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น
5. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น
6. พระผู้ตรัสอย่างนั้น
7. พระผู้ทำอย่างนั้น
8. พระผู้เป็นเจ้า

* ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต

* ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย

* ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม

* ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม

* ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม

* ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า

* บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู

* พระผู้มีพระภาคเจ้า

* พระพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

* พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง

* พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

* ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม

* มหาสมณะ

* โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก

* สยัมภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน

* สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

* พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ