2009-04-06

เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พิมพ์สายฝน พ.ศ. 2486

เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พิมพ์สายฝน พ.ศ. 2486



ลักษณะ เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่มีหูในตัว ขนาดโดยประมาณ กว้าง ๑.๗ ซม. ยาว ๒.๕ ซม.
ด้านหน้า ยกขอบรอบเหรียญ ระหว่างกลางเป็นรูปหลวงพ่อแช่มหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฏิครึ่งองค์ ด้านบนมีอักษรไทย "หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง" ด้านล่างเขียนปีที่สร้างเป็นเลขอารบิก "พ.ส. 2486"
ด้านหลัง พื้นเหรียญมีเส้นเฉียงคล้ายสายฝน และมีอักขระขอมสามแถว
แถวแรกอ่านว่า "พระอะระหัง" (พระอรหัง)
แถวสองอ่านว่า "สุค คะ โต" (ผู้รู้แจ้งโลก) และ "ภะคะวา" (ผู้ตื่นแล้ว)
แถวที่สามอ่านว่า "นะ เมต ตา จิต" (ความเมตตา)

ประวัติการจัดสร้าง
เนื่องจากเหรียญรุ่นแรก พิมพ์ยันต์วรรค ได้รับความนิยม ในปีเดียวกัน พระครูเมตตาภิรมณ์ (ฉูด) เจ้าอาวาสวัดใต้ หรือวัดโคกโตนด (วัดวัฏฐิวนาราม) ได้ขออนุญาตจากท่านอาจารย์เพรา นำบล็อกที่ใช้พิมพ์เหรียญครั้งแรกมาพิมพ์ใหม่ แต่เนื่องจากบล็อคพิมพ์ถูกใช้งานอย่างหนัก ขณะที่พิมพ์ได้ระยะหนึ่ง พิมพ์มีรอยแตกที่บริเวณหน้าผากด้านซ้าย ทำให้ต้องหยุดพิมพ์แค่นั้น คาดว่ามีจำนวนไม่เกิน 1,000 องค์ จึงนิยมเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า เหรียญหลวงพ่อแช่ม รุ่นบล็อคแตก

แต่เนื่องจากปัจจัยที่ได้มาเพื่อบูรณะเสนาสนะของวัด ไม่เพียงพอ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2486 ท่านเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดใต้ จึงได้ตัดสินใจสร้างเหรียญขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยว่าจ้างนายช่างจากกรุงเทพฯส ทำแม่พิมพ์หรือบล็อคขึ้นมาใหม่ เหมือนพิมพ์แรก เพียงแต่ด้านหลังอักขระขอมไม่เว้นวรรค หลังจากปั๊มแล้ว เหรียญชุดนี้มีลักษณะด้านหลังเป็นเส้นเฉียงหลายเส้น เนื่องจากแม่พิมพ์ จึงนิยมเรียกกันว่า "พิมพ์สายฝน"

เนื่องด้วยเหรียญที่พิมพ์ในชุดนั้น มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ทำให้นักสะสมนิยมเรียกตามลักษณะของพิมพ์ เช่น พิมพ์สายฝนเล็ก พิมพ์สายฝนใหญ่ พิมพ์จุดกระโดด พิมพ์หัวโน เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่วัดสำนักปรุ (วัดชนาธิการาม) จ.พังงา ยังได้ออกเหรียญชนิดนี้ คือ "พิมพ์ยันตัง" ซึงมีลักษณะเป็นพิมพ์เดียวกับ เหรียญหลวงพ่อแช่ม พิมพ์ยันต์วรรค รวมทั้งพิมพ์ยันต์ 6 แถว ซึ่งมีลักษณะยันต์ด้านหลังแตกต่างกันออกไป สันนิษฐานว่าออกที่จังหวัดพังงา ซึ่งเหรียญทั้งหมดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2486



อย่างไรก็ตาม วัดมงคลนิมิตร หรือวัดกลาง ก็ได้ออกเหรียญพิมพ์นี้เหมือนกัน คือรุ่น ยกช่อฟ้า พ.ศ. 2500 ซึ่งแม้นจะออกปี 2500 แต่ก็ใช้พิมพ์ระบุว่าเป็น พ.ส. 2486 ก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน

หมายเหตุ : เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับความรู้เกี่ยวกับเหรียญเท่านั้น เนื่องจากเหรียญหลวงพ่อแช่มทั้งหมดในปี 2486 มีการออกหลายครั้ง หลายพิมพ์ แต่ครั้งก็มีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะด้านหลังยังมีจุดสังเกตุหลายอย่างเกี่ยวกับลักษณะของอักขระ ข้อมูลจากหลายแหล่งก็มีแตกต่างกันออกไป การดูว่าเป็นเหรียญแท้หรือไม่ควรให้ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ขอบคุณภาพจาก เว็บไซด์พระเครื่องวัดฉลอง


เหรียญอื่นๆ ของหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง

เหรียญหลวงพ่อแช่ม พิมพ์สี่เหลี่ยม พ.ศ. 2473
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พิมพ์ยันต์วรรค พ.ศ.2486
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พิมพ์บล็อคแตก พ.ศ.2486
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง หลังหลวงพ่อช่วง พ.ศ. 2497
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง หลังมียันต์ พ.ศ. 2497

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ