2008-12-15

มงคลสูตร ๓๘ ประการ

มงคลสูตร ๓๘ ประการ

มงคล คือ เหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้ พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต"
เรียกว่า มงคลสูตร ๓๘ ประการ ซึ่งมีรายละเอียดที่จะอธิบายได้ดังนี้

หมู่ที่ ๑ ทำความเห็นให้ถูกต้อง

มงคลที่ ๑ การไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ การคบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

หมู่ที่ ๒ มองปัจจัยพื้นฐาน

มงคลที่ ๔ การอยู่ในถิ่นอันสมควร
มงคลที่ ๕ ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในปางก่อน
มงคลที่ ๖ การตั้งตนไว้ชอบ

หมู่ที่ ๓ รู้งานดีมีวินัย

มงคลที่ ๗ ความเป็นผู้สดับฟังมาก
มงคลที่ ๘ ความฉลาดในศิลปะ
มงคลที่ ๙ มีวินัยที่ดี
มงคลที่ ๑๐ กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

หมู่ที่ ๔ ทำให้ครอบครัวอบอุ่น

มงคลที่ ๑๑ การบำรุงมารดาบิดา
มงคลที่ ๑๒ การสงเคราะห์บุตรธิดา
มงคลที่ ๑๓ การสงเคราะห์ภรรยา
มงคลที่ ๑๔ การงานอันไม่คั่งค้าง

หมู่ที่ ๕ เกื้อหนุนต่อสังคม

มงคลที่ ๑๕ การให้ทาน
มงคลที่ ๑๖ การประพฤติธรรม
มงคลที่ ๑๗ การสงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ ๑๘ ทำงานที่ไม่มีโทษ

หมู่ที่ ๖ ปฏิบัติธรรมะขั้นพื้นฐาน

มงคลที่ ๑๙ การงดเว้นจากบาป
มงคลที่ ๒๐ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ ๒๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

หมู่ที่ ๗ ปฏิบัติธรรมะขั้นต้น

มงคลที่ ๒๒ การมีความเคารพ
มงคลที่ ๒๓ มีความเจียมตน
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคลที่ ๒๖ การฟังธรรมตามกาล

หมู่ที่ ๘ ปฏิบัติธรรมะขั้นกลาง

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคลที่ ๒๘ ความเป็นผู้ว่าง่าย
มงคลที่ ๒๙ การเห็นสมณะทั้งหลาย
มงคลที่ ๓๐ การสนทนาธรรมตามกาล

หมู่ที่ ๙ ปฏิบัติธรรมะขั้นสูง (ดับกิเลส)

มงคลที่ ๓๑ การบำเบ็ญตะบะ
มงคลที่ ๓๒ การประพฤติพรหมจรรย์
มงคลที่ ๓๓ การเห็นอริยสัจ
มงคลที่ ๓๔ การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

หมู่ที่ ๑๐ รับผลจากการปฏิบัติธรรมะ

มงคลที่ ๓๕ มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ ๓๖ มีจิตอันไม่เศร้าโศก
มงคลที่ ๓๗ มีจิตอันปราศจากกิเลส
มงคลที่ ๓๘ มีจิตอันเกษม

ตำนานพระปริตร : มงคลสูตร

ที่มา : ศาลาธรรม

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ