หัวใจของพุทธศาสนา
หลักธรรม 3 ประการที่ถือเป็น หัวใจของพุทธศาสนา คือ
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตัง พุทธานะสาสะนัง ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ (หรือ โอวาทปาฏิโมกข์) โดย พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม โอวาทปาติโมกข์ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นวันที่เกิด จาตุรงคสันนิบาต คือการประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ นั่นคือ
๑. พระสงฆ์ ๑๒๕๐ รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
๒. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
๓. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าบวชให้)
๔. ตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะ (เดือน ๓) ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ดังนี้
คำโอวาทปาติโมกข์คาถา
(หันทะมะยังโอวาทะปาติโมกขะคาถาโยภะณามะเส.)
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,
การไม่ทำบาปทั้งปวง;
กุสะลัสสูปะสัมปะทา,
การทำกุศลให้ถึงพร้อม;
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
ขันตี ปะระมัง ตะโป ติติกขา,
ขันตี คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง;
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง;
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย;
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต.
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย.
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย;
ปาติโมกเข จะ สังวะโร,
การสำรวมในปาติโมกข์;
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค;
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด;
อะธิจิตเต จะ อาโยโค,
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง;
เอตัง พุทธานะสาสะนัง.
ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ที่มา : ธรรมะไทย
No comments:
Post a Comment