2009-09-15

บทภาชนีย์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑

บทภาชนีย์


(อุบาย ๔)
[๓๐๔] ภิกษุปล่อยสุกกะในรูปภายใน ๑ ปล่อยสุกกะในรูปภายนอก ๑ ปล่อยสุกกะ
ในรูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ๑ ปล่อยเมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ ๑
(กาล ๕)
ปล่อยเมื่อเวลาเกิดความกำหนัด ๑ ปล่อยเมื่อเวลาปวดอุจจาระ ๑ ปล่อยเมื่อเวลาปวด
ปัสสาวะ ๑ ปล่อยเมื่อเวลาต้องลม ๑ ปล่อยเมื่อเวลาถูกบุ้งขน ๑
(ความประสงค์ ๑๐)
ปล่อยเพื่อประสงค์ความหายโรค ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ความสุข ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็น
ยา ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ให้ทาน ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นบุญ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์บูชายัญ ๑
ปล่อยเพื่อประสงค์ไปสวรรค์ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นพืช ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์จะทดลอง ๑
ปล่อยเพื่อประสงค์ความสนุก ๑
(วัตถุประสงค์ ๑๐)
ปล่อยสุกกะสีเขียว ๑ ปล่อยสุกกะสีเหลือง ๑ ปล่อยสุกกะสีแดง ๑ ปล่อยสุกกะสีขาว ๑
ปล่อยสุกกะสีเหมือนเปรียง ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนน้ำมัน ๑
ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมสด ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนเนยใส ๑
[๓๐๕] บทว่า รูปภายใน ได้แก่รูปที่มีวิญญาณครอง เป็นภายใน
บทว่า รูปภายนอก ได้แก่รูปที่มีวิญญาณครอง หรือรูปที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นภายนอก
บทว่า รูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ได้แก่รูปทั้งสองนั้น
บทว่า เมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ คือเมื่อพยายามในอากาศ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ
ใช้การได้
บทว่า เมื่อเวลาเกิดความกำหนัด คือเมื่อถูกราคะบีบคั้นแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ
ใช้การได้
บทว่า เมื่อเวลาปวดอุจจาระ คือเมื่อปวดอุจจาระ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้
บทว่า เมื่อเวลาปวดปัสสาวะ คือเมื่อปวดปัสสาวะ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้
บทว่า เมื่อเวลาต้องลม คือเมื่อถูกลมโชยแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้
บทว่า เมื่อเวลาถูกบุ้งขน คือเมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ
ใช้การได้
บทว่า เพื่อประสงค์ความหายโรค คือเพื่อหวังว่าจักเป็นคนไม่มีโรค
บทว่า เพื่อประสงค์ความสุข คือเพื่อหวังว่าจักยังสุขเวทนาให้เกิด
บทว่า เพื่อประสงค์เป็นยา คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นยา
บทว่า เพื่อประสงค์ให้ทาน คือเพื่อมุ่งว่าจักให้ทาน
บทว่า เพื่อประสงค์เป็นบุญ คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นบุญ
บทว่า เพื่อประสงค์บูชายัญ คือเพื่อมุ่งว่าจักบูชายัญ
บทว่า เพื่อประสงค์ไปสวรรค์ คือเพื่อมุ่งว่าจักได้ไปสวรรค์
บทว่า เพื่อประสงค์เป็นพืช คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นพืช
บทว่า เพื่อประสงค์ทดลอง คือเพื่อมุ่งว่าจักทดลองดูว่า สุกกะจักเป็นสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือน
นมส้ม หรือสีเหมือนเนยใส
บทว่า เพื่อประสงค์ความสนุก คือมีความมุ่งหมายจะเล่น.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=11481&Z=11520

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ