2008-11-11

กัณฑ์มหาราช


กัณฑ์มหาราช
สาระน่ารู้สู่ผู้สดับ

กัณฑ์มหาราช ประดับด้วยคาถา ๖๓ พระคาถาเป็นพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและกวีอีก ๒ ท่าน คือ พระยาธรรมปรีชา (บุญ) และขุนวรรณวาทวิจิตร

เพลงประจำกัณฑ์ คือ เพลง “กราวนอก” ประกอบกิริยาการยกพล และเคลื่อนพลที่พระเจ้ากรุงสญชัย
ทรงยกไปรับ พระเวสสันดร และพระนางมัทรี กลับเมือง

ข้อคิดจากกัณฑ์มหาราช

คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

เนื้อความโดยย่อกัณฑ์มหาราช

ชูชก ตั้งใจพาสองพระกุมารกลับไปหา นางอมิตตดา ที่เมืองกลิงคราษฎร์ แต่เทพยดาดลใจให้ชูชกเดินทางผิด กลายเป็นเดินทางเข้าสู่กรุงสีพีของ พระเจ้ากรุงสญชัย

ฝ่าย พระเจ้ากรุงสญชัย คืนก่อนที่จะได้พบสองพระกุมารได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า มีบุรุษรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวนำดอกบัวสองดอกมาถวาย ซึ่งโหรหลวงทำนายว่าจะมีพระญาติใกล้ชิดที่พลัดพรากไปกลับสู่พระนคร

รุ่งขั้น ชูชก ก็มีโอกาสนำสองพระกุมาร เข้าเฝ้า พระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดี ทั้งสองพระองค์ดีพระทัยยิ่งนัก พระราชทานสิ่งของไถ่องค์พระนัดดาทั้งสอง ตามที่ พระเวสสันดร ทรงกำหนดไว้ และทรงให้จักเลี้ยง ชูชก ด้วยอาหารคาวหวานมากมาย ชูชก บริโภคเกินขนาดจนไฟธาตุไม่อาจเผาผลาญได้ อาหารไม่ย่อย
สุดท้ายก็ถึงแก่จุกตายทรัพย์ที่ได้รับก็ถูกริบเข้าคลังหลวง หลังจากที่ประกาศให้วงศาคณาญาติให้มารับ แล้วไม่มีผู้ใดมารับ

หลังจากที่ พระเจ้ากรุงสญชัย ทรงสดับเรื่องราวจากพระนัดดาทั้งสอง ที่ต้องระกำลำบากกับพระชนกชนนี
พระเจ้ากรุงสญชัย ก็ทรงเตรียมยกพยุหยาตรา ไปรับ พระเวสสันดรกับพระนางมัทรี กลับพระนคร ในวันรับเสด็จ พราหมณ์ชาวเมืองกลิงคราษฎร์ ๘ คน นำ ช้างปัจจัยนาเคนทร์ มาถวายคืน จึงโปรดให้ พระชาลี ทรง ช้างปัจจัยนาเคนทร์ นำขบวนสู่เขาวงกต

อานิสงส์การบูชากัณฑ์มหาราช

ผู้บูชากัณฑ์มหาราช จะได้มษุษย์สมบัติ สวรรค์และนิพพานสมบัติเมื่อเกิดเป้นมนุษย์ จะได้เป็นราชา เมื่อจากดลกมนุษย์ไป ก็จะได้เสวยทิพย์สมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติ อันตัดเสียซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะ เป็นต้น

No comments:

ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในเว็บไซด์ที่เป็นของ Andaman Amulet ไม่สงวนสิทธิ์ สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
ข้อความและรูปภาพบางส่วน นำมาจากเว็บไซด์หลายแห่ง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่ E-mail : skarnwigit@gmail.com


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอมักเป็นที่รังเกียจ